วันเสาร์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ตำรับยา “ พุทธโอสถ ” ยาแก้ทุกข์โรค

ตำรับยา “ พุทธโอสถ ” ยาแก้ทุกข์โรค

แม้โลกทุกวันนี้จะมีวิทยาการรุดหน้าไปเพียงใดก็ตาม แต่ดูเหมือนว่าโรคภัยไข้เจ็บจะพัฒนาไปเร็วกว่ามนุษย์ก้าวหนึ่งเสมอ เราจึงพบเห็นคนเจ็บไข้ได้ป่วยกันอยู่ทั่วไป ชาวจีนเชื่อว่าร่างกายของคนเรานั้นประกอบด้วยดิน น้ำ ลม ไฟ ดังนั้น การเจ็บป่วยใดๆ จึงเกิดจากความไม่สมดุลของธาตุทั้งสี่ การรักษาจึงต้องพยายามปรับให้แต่ละธาตุในร่างกายมีความพอดี มีความสมดุลกัน จึงจะทำให้ร่างกายแข็งแรง และห่างไกลจากโรคร้ายต่างๆ อย่างไรก็ดี โลกนี้ก็ยังมีโรคอีกจำนวนไม่น้อยที่ไม่สามารถจะรักษาด้วยวิธีสมัยใหม่ หรือกินยาอย่างไร ก็ไร้ผล จนทำให้ผู้ป่วยและคนใกล้ชิดเกิดความทุกข์ทรมานทั้งร่างกายและจิตใจ โรคที่ว่าเขาบอกว่าเป็น โรคเกิดจากกิเลส ตัณหา ที่นอกจากจะทำให้อวัยวะต่างๆทำงานไม่ปกติแล้ว ยังทำให้เกิด “ โรคทุกข์ ” ไม่มีที่สิ้นสุด ด้วยเหตุนี้ กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม จึงขอเสนอตำรับยาแก้โรคดังกล่าว ที่เรียกว่า “ พุทธโอสถ ” มาให้ท่านที่สนใจได้ลองนำไปใช้ดู เผื่อจะช่วยบรรเทาอาการของโรค หรือถ้าใช้อย่างสม่ำเสมอ ร่างกายก็อาจสร้าง “ ภูมิต้านทาน ” ขึ้นมาได้เอง จนโรคร้ายหายไปได้ในที่สุด
ยา “ พุทธโอสถ ” นี้ ชื่อก็บอกอยู่แล้วเป็นตำรับยาของพระพุทธองค์ ที่เก่าแก่และค้นพบมาแล้วกว่า ๒๕๐๐ ปี เป็นยาวิเศษที่มีหลายขนาน และหลายสูตร สุดแต่ผู้ป่วยต้องการรักษาโรคใด ดังจะได้ยกตัวอย่าง ดังต่อไปนี้
-โรคอิจฉาริษยา โรคนี้เมื่อเกิดกับผู้ใด จะเกิดความร้อนรุ่ม ธาตุไฟในตัวจะเพิ่มมากกว่าปกติ อาการของโรคนี้มีหลายระดับ และแต่ละคนก็จะแสดงออกไม่เหมือนกัน อย่างบางคนก็เป็นเพียงแต่หมกมุ่น ครุ่นคิด บางคนก็เกิดอาการพาลรีพาลขวาง เช่น คิดว่ายายคนนี้ ไอ้คนนั้น ทำไมถึงได้ตำแหน่ง ทั้งๆที่โง่จะตาย สู้เราก็ไม่ได้ เลยหงุดหงิด ขี้โมโห พาลไม่ทำงานหรือทำแบบเสียไม่ได้ หรือบางคนก็แสดงอาการหมั่นไส้คนที่เราอิจฉา ด้วยการประชดประชัน แดกดัน แต่ถ้าเป็นถึงขั้นหนัก ก็อาจจะเกิดความอาฆาตแค้น จนถึงกับวางแผนทำร้ายผู้อื่นดังที่เราเห็นจากหนังหรือละครก็มี
ทางแก้และยารักษา ส่วนใหญ่ผู้ที่เกิดโรคอิจฉาริษยานั้น มักอยู่บนสมมุติฐาน ๒ ประการ คือ ประการแรกเกิดจากความน้อยเนื้อต่ำใจ คิดว่าตัวเองด้อยกว่าผู้อื่น เช่น จนกว่า สวยน้อยกว่า เก่งน้อยกว่า ฯลฯ ประการที่สอง เกิดจากการคิดว่าตัวเองดีกว่าผู้อื่น แต่กลับไม่ได้รับการยอมรับหรือได้ในสิ่งที่ตนเองคิดว่าน่าจะต้องได้มากกว่า ผู้อื่น เช่น คิดว่าตัวเองทำงานเก่ง ฉลาด น่าจะต้องได้รับตำแหน่งที่คาดหวัง แต่กลับไม่ได้ หรือคิดว่าตัวเองควรได้รับมรดกมากกว่า เพราะเป็นพี่คนโตและรับผิดชอบมากกว่า แต่พ่อกลับยกให้น้องคนเล็ก เป็นต้น ดังนั้น ตำรับยาที่จะแก้โรค นี้ได้ ต้องใช้สูตรที่ชื่อว่า “ ความเมตตา ” คือ การรู้จักรักตนเองและผู้อื่น ให้เป็น มีความปรารถนาดีต่อตนเองและผู้อื่นไม่ว่าจะเป็นคนในครอบครัว ที่ทำงานหรือแม้แต่กับศัตรู วิธีใช้ เมื่อตื่นนอนทุกเช้า ให้ริน “ ความเมตตา ” ออกมาจากใจ สัก ๑ ช้อนโต๊ะแล้วกินก่อนอาหารเช้า จะทำให้เรามองโลกด้วยความสดชื่น ไม่ไปคอยจับผิดผู้อื่นให้เกิดความขุ่นข้องหมองใจต่อกัน ทำอะไรกับใคร ก็จะทำด้วยความรัก เพราะความเมตตาจะเป็นเหมือนน้ำที่ช่วยดับธาตุไฟ อันร้อนรุ่มกลุ้มใจให้ลดน้อยลง และหากจะให้หายเร็วยิ่งขึ้น อาจจะเพิ่มกลางวัน เย็น และก่อนนอนอีกครั้งละ ๑ ช้อนชา พร้อมฝึกลมหายใจ ด้วยการหายใจเข้าก็ “ เฮ้อ เธอ ” หายใจออกก็ “ เฮ้อ เธอ ” คือ ให้เห็นแก่ตัวให้น้อยลง และเห็นแก่คนอื่นให้มากขึ้น ไม่นานโรคอิจฉาริษยาก็จะลดน้อยถอยลงไป หากกินเป็นประจำสม่ำเสมอ ก็จะทำให้หน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส มีเสน่ห์ให้คนอื่นรัก และยอมรับเรามากขึ้นๆ ทำให้เรารู้สึกมีค่า ไม่ด้อยไปกว่าใคร และจะนำมาซึ่งสิ่งที่เราปรารถนาได้ในที่สุด
-โรคชิงสุกก่อนห่าม โรคนี้มีมาช้านานแต่อดีต แต่ปัจจุบันกำลังระบาดในหมู่วัยรุ่น วัยเรียน
อาการ ของโรคคือ เกิดการ “ ป่อง ” หรือ “ ท้อง ” ขึ้นมา เนื่องจากมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร หรือในขณะที่ยังอยู่ในวัยศึกษาเล่าเรียน และไม่มีงานทำ แถมบางคนยังได้โรคอื่นๆตามมา เช่น โรคเอดส์ โรคติดยา เป็นต้น แม้สมัยนี้เยาวชนจำนวนไม่น้อย จะรู้จักใช้ยาคุม และถุงยางอนามัยเพื่อป้องกันการท้อง แต่โรคชิงสุกก่อนห่ามนี้ ก็ยังทำให้ผู้ป่วยเกิดความทุกข์ ความเครียด เพราะเป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้องเหมาะสม จึงต้องลักลอบทำ ไม่ให้พ่อแม่ ผู้ปกครอง หรือครูบาอาจารย์จับได้ โรคนี้กำลังเป็นปัญหาทางสังคมอย่างมาก สาเหตุ คงมิใช่เกิดจากยาเบนโล แต่การระบาดของโรคดังกล่าว น่าจะมาจากสื่อบางสื่อที่ขาดความรับผิดชอบ เสนอสิ่งยั่วยุ ทำให้เกิดการเลียนแบบ โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์หรือขาดความไตร่ตรอง ด้วยคิดว่าเป็นเรื่องโก้เก๋ ทันสมัย และพ่อแม่อาจจะไม่มีเวลาให้กับเด็ก ดังนั้น จึงควรกันไว้ดีกว่าแก้ ซึ่งจะต้องใช้ ตัวยาหลายชนิดผสมผสานกัน อันได้แก่ ความรัก การดูแลเอาใจใส่ ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ และความอดกลั้น วิธีปรุงยากันโรคชิงสุกก่อนห่าม ให้พ่อแม่ผู้ปกครองใส่ความรักลงในหม้อ แล้วเคี่ยวด้วยความเอาใจใส่ ให้ลูกๆกินอย่างน้อยวันละครั้ง แล้วเสริมด้วยการสอนให้ลูกรู้จักมีความรับผิดชอบต่อตนเองและผู้อื่น ด้วยการช่วยทำงานบ้าง อย่าปล่อยให้เล่นหรือเรียนแต่เพียงอย่างเดียว ขณะเดียวกันก็ต้องให้ความอดกลั้นเป็นวิตามินเสริม ที่จะอดทนต่อสิ่งยั่วยุต่างๆ ไม่ไปตามแรงชักชวนของเพื่อนในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ส่วนเด็ก เยาวชนที่ต้องกินยานี้ ก็ต้องมีความกตัญญูรู้คุณ ว่าพ่อแม่ผู้ปกครองทำด้วยความหวังดีเป็นการป้องกันเราจากโรคอันมิน่าพึง ปรารถนาดังกล่าว
-โรคทุจริต คดโกง โรคนี้กำลังเป็นกันมาก และขยายตัวไปยังทุกภูมิภาคของโลก ส่วนใหญ่ผู้เป็นโรคนี้ มักจะรู้ตัว แต่ไม่ค่อยคิดจะรักษา เพราะมักเป็นๆหายๆ กล่าวคือ เมื่อสบโอกาสก็จะกำเริบขึ้นมาสักทีหนึ่ง แต่ถ้าไม่มีโอกาส โรคก็จะไม่สำแดงอาการ ด้วยเหตุนี้ หลายคนจึงเกิดอาการเรื้อรัง และมักจะละเลย คิดว่าไม่จำเป็นต้องรักษา เพราะตราบใดที่โรคดังกล่าวยังไม่สร้างความเดือดร้อนให้แก่ตนเองแล้ว ก็ยังนิ่งเฉยอยู่ สำหรับ อาการ โดยทั่วไปของผู้เป็นโรคนี้ คือ จะเกิดความโลภ ไม่คิดถึงบาบบุญคุณโทษ แต่พร้อมจะกินทุกอย่างที่ขวางหน้า หรือทำทุกสิ่งเพื่อให้ได้มาตามที่อยากมี อยากได้ และอยากเป็น ส่วน สาเหตุของโรค กล่าวกันว่าเกิดจากต่อมความซื่อสัตย์สุจริต และหิริโอตัปปะ (ความเกรงกลัวและละอายต่อบาป)เกิดบกพร่อง ไม่สามารถทำหน้าที่ของมันได้โดยสมบูรณ์ ดังนั้น การจะรักษาโรคนี้ได้ ก็ต้องรักษาจากต้นเหตุ คือจะต้องกระตุ้นต่อมดังกล่าวให้ทำงานตามหน้าที่ให้ได้ โดยให้ ต้มใบสัจจะพร้อมด้วยรากของคุณธรรม กินทุกวัน เพื่อปรับพื้นฐานจิตใจให้มั่น ขณะที่กินก็ให้ตั้งจิตอธิษฐานว่า จะลด ละ เลิกกิเลส และความโลภทั้งมวล เพื่อให้โรคหายเร็วขึ้น หลายคนที่เป็นโรคนี้ อาจจะคิดว่าโรคนี้เป็นแล้วไม่มีใครพบ ใครเห็น จึงปล่อยให้มีอาการซ้ำซาก กว่าจะรู้ตัวก็สายเกินแก้ อาจจะถูกสังคมลงโทษ ไม่มีใครคบ ไม่มีใครเคารพนับถือ ต้องอยู่อย่างคนไร้เกียรติ ไร้ศักดิ์ศรี เป็นที่ดูถูกดูแคลน สร้างความอับอายขายหน้าให้แก่วงศ์ตระกูล หรืออาจต้องติดคุกติดตะรางตามความผิด เราจึงไม่ควรประมาทให้โรคนี้เกิดขึ้นกับเราหรือลูกหลานของเรา เพราะมันจะเป็น “ ตราบาป ” ที่จะติดตัวไปตลอดชีวิต
เพียงตัวอย่างสามโรคข้างต้น คงจะพอทำให้เราได้เห็นว่า พุทธโอสถ นั้น สามารถทั้งแก้ และกันโรคที่จะทำให้เกิด “ ทุกข์ ” ได้อย่างแท้จริง อยู่ที่ว่าเราจะเชื่อมั่นในยาขนานนี้แล้วปฏิบัติตาม หรือจะปล่อยให้โรคคุกคามเราต่อไป ก็สุดแต่ทางเลือกของแต่ละคน

ที่มา : อมรรัตน์ เทพกำปนาท
กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
 
วันที่ขึ้นเนื้อหา: 19 กันยายน 2554 07:00
วันที่ปรับเปลี่ยนเนื้อหา:19 กันยายน 2554
 
http://www.m-culture.go.th/detail_page.php?sub_id=3106

วันศุกร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

รายงานพิเศษ : คุณธรรม 4 ประการของผู้นำ พระธรรมเทศนาหน้าพระที่นั่ง

รายงานพิเศษ : คุณธรรม 4 ประการของผู้นำ พระธรรมเทศนาหน้าพระที่นั่ง

 เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2555 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินโดย รถยนต์พระที่นั่งออกจากโรงพยาบาลศิริราช ไปทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร และทรงบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุปทาน พระราชอุทิศถวาย พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร, สมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก, สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ณ พระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร ณ เชิงสะพานพระราม 8 เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร

ในวโรกาสมหามงคลดังกล่าว พระธรรมเจดีย์ (ประกอบ ธมฺมเสฏฺโฐ ป.ธ.9) เจ้าอาวาสวัดกัลยาณมิตร เจ้าคณะภาค 13 ได้แสดงพระธรรมเทศนา “คุณธรรมผู้ปกครอง 4 ประการ” ถวายต่อหน้าพระที่นั่ง ความว่า

“...สรรพกรณียกิจที่สมเด็จบรมบพิตร และพระราชภคินีบพิตร ทั้งสี่พระองค์ ที่ทรงพระราชอนุสรณ์ถึง และทรงบำเพ็ญพระราชกุศลอุทิศถวายนั้น ได้ดำเนินไปด้วยดี และสม่ำเสมอ รับพระราชทานแสดงได้ว่า นอกจากเกิดจากพระขันติธรรม และพระบารมีธรรมเป็นที่ตั้ง มุ่งหวังให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชน มิได้มีพระราชกมลปรารถนาจะได้อะไรจากประชาชนตอบแทน แล้วยังทรงกอปรด้วยพระคุณธรรมของผู้ปกครองอีกสี่ประการ สมด้วย พุทธภาษิตบรรหาร ที่มาในมหานิบาตชาดก ขุททกนิกาย ที่แปลความได้ว่า

ผู้ ปกครอง ผู้เป็นใหญ่ หรือผู้นำสังคม ต้องมีคุณธรรม คือ ความขยันหมั่นเพียร ในสิ่งที่เรียกว่า การงาน หนึ่ง ความไม่ประมาท หนึ่ง ความมีปัญญารู้เท่าทันเหตุการณ์ หนึ่ง ความเป็นผู้จัดแจงการงาน หนึ่ง ดังนี้

อันคุณธรรมทั้งสี่ประการนี้มีมาแต่โบราณ ท่านวางเป็นหลักการ ใช้กันมาทุกยุคทุกสมัย ด้วยว่า ถ้าผู้ปกครอง ผู้ใหญ่ หรือผู้บริหารจัดการสังคมทั้งระดับบนและระดับล่าง ปฏิบัติตามคุณธรรมเหล่านี้ ความเจริญรุ่งเรืองความวัฒนาสถาพรของสังคม ประเทศชาติ จึงจะมีได้ เรียกว่าได้ผู้ปกครอง ผู้นำ ผู้บริหาร ที่มีคุณธรรม และมีคุณภาพทีเดียว

การพัฒนาสังคมประเทศชาติที่ต้องล้มลุกคลุกคลานไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร เป็นเพราะผู้ปกครอง ผู้นำ ผู้บริหารสังคม ไร้คุณธรรมและไร้คุณภาพ นั่นเอง

ประการที่หนึ่ง ความขยันหมั่นเพียร ในสิ่งที่เรียกว่า การงาน มีอรรถาธิบายว่า ภาวะของน้ำใจ ที่ตื่นตัวอยู่เสมอ พร้อมที่จะลุกขึ้นทำงานทุกขณะ คิดไปในทางก้าวหน้าตลอดเวลา กล้าที่จะเผชิญกับความลำบากในการทำงาน ไม่ว่างานนั้นจะสูงหรือต่ำ

ธรรมดามนุษย์เราไม่ว่าจะอยู่ในเพศภูมิอย่างไร จะเป็นชาวบ้าน หรือชาววัด หากมีความขยันแล้ว เป็นอันว่าขึ้นสู่ทางที่ถูก ความสำเร็จ ความมั่งคั่ง ความอุดมสมบูรณ์ ด้วยทรัพย์ ด้วยยศ และอื่นๆ จะเกิดขึ้นตามมาโดยไม่ยาก เพราะเป็นความจริงของโลกที่ว่า คนขยันตกอับไม่มี ส่วนคนเกียจคร้านได้ดี ก็ไม่มีเหมือนกัน

เพราะฉะนั้น จึงกล่าวได้ว่า ความขยันมีแต่คุณอย่างเดียว ไม่มีโทษ ส่วนความเกียจคร้านมีแต่โทษอย่างเดียว ไม่มีคุณ

ผู้นำ ผู้บริหาร ผู้ปกครองทุกสังคม จะต้องทำใจเสมอว่า ตนมีหน้าที่ซื้อความทุกข์ของผู้อยู่ในสังคม หรือหน่วยงานที่ตนรับผิดชอบ ถึงจะลำบากยากเข็ญก็ต้อง มีน้ำอดน้ำทน ฝ่าความยากลำบากไปให้ได้ เพราะก่อนที่ตนจะเข้ารับตำแหน่งแห่ง ที่เป็นผู้นำ ผู้ปกครอง ผู้บริหารนั้น ต้องปลงใจให้ได้ว่า เราจะซื้อความทุกข์ของผู้อยู่ในสังคมนั้นๆ มาสู่ตน และจะขายความสุขของตนให้แก่ผู้อยู่ในสังคมนั้นๆ

ถ้าปลงใจอย่างนี้ไม่ได้ หรือใจไม่ยอมปลง กลับคิดว่าเราจะซื้อความสุขของคน ในสังคมมาสู่ตน และจะขายความทุกข์ของตนให้แก่ผู้อยู่ในสังคมอย่างนี้แล้ว ความขยันหมั่นเพียรในสิ่งที่เรียกว่าการงาน ย่อมมีไม่ได้

การที่ท่านสอนให้ขยันหมั่นเพียรใน สิ่งที่เรียกว่าการงาน ก็แปลว่า ท่านสอนให้ รู้จักหน้าที่ และทำตามหน้าที่นั่นเอง ไม่ใช่ขยันนอกหน้าที่ หรือขยันนอกเรื่อง หน่วยงานใดหรือสังคมประเทศชาติใดมีคนประเภทขยันนอกเรื่องอยู่มาก หน่วยงานนั้นหรือสังคมนั้นเติบโตยาก รุ่งเรืองยาก การงานมีแต่คั่งค้าง ไม่ก้าวหน้า

และที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ ความขยันหมั่นเพียรนี้ มีลักษณะเดินหน้าเรื่อยไป ไม่หยุด เป็นการกระทำต่อเนื่อง ไม่ใช่ขยันแบบกิ้งก่า วิ่งไปแล้วก็หยุด วิ่งไปแล้วก็หยุด และไม่ใช่ลักษณะพลุที่สว่างแวบเดียวแล้วก็หมดกัน

ประการที่สอง ความไม่ประมาท มีอรรถาธิบายว่า ไม่ประมาทในเรื่องเล็กๆ น้อยๆ กล่าวคือ อย่าเห็นว่าเล็กว่าน้อยในทุกๆเรื่อง และความหมายอีกประเด็นหนึ่งคือ อย่าเห็นแก่เล็กแก่น้อย

แท้จริงในทุกเรื่อง ไม่ว่าดีหรือไม่ดี ได้หรือเสีย ผู้นำ ผู้บริหาร อย่ามองว่าเล็กน้อย เพราะความโตใหญ่ย่อมก่อตัวมาจากเล็กน้อยทั้งนั้น แม้สมเด็จพระบรมศาสดาก็ทรงสอนพุทธบริษัทเกี่ยวกับเรื่องนี้ ทั้งในส่วนพระสูตร และส่วนพระวินัย

ปัญหาหรือความเดือดร้อน ความทุกข์ ยากของผู้อยู่ในความรับผิดชอบ ระดับผู้นำ อย่าเห็นว่าเล็กน้อย ต้องเห็นว่ายิ่งใหญ่เสมอ หรือมากกว่าปัญหา หรือความเดือดร้อนของตน แล้วหาทางขจัดปัดเป่า แก้ไขในทางที่ถูกที่ควรต่อไป

แต่ถ้าผู้นำเห็นว่า เป็นเรื่องเล็กน้อย นานวันเข้าจะกลายเป็นปัญหาใหญ่ ซึ่งยากจนเกินกำลังจะแก้ไขก็ได้

อีกอย่างหนึ่ง ตำแหน่งผู้นำ ผู้บริหาร มักจะได้รับการยอมรับ หรือโอนอ่อนผ่อน ตามจากผู้อยู่ใต้ปกครอง หรือประชาชนในเรื่องต่างๆ และเป็นที่ไหลมาแห่งลาภผลมากมาย เพียงแต่อยู่เฉยๆ ก็เรียกว่าตามน้ำ หากไม่ระวังใจ เป็นคนเห็นแก่เล็กแก่น้อย ยิ่งจะประสบความวิบัติเร็วขึ้น เพราะความเห็นแก่เล็กแก่น้อยเป็นมารดาของความทุจริตทั้งหลายทั้งปวง ไม่ว่าจะเป็นการฉ้อราษฎร์ หรือการบังหลวง

ดังนั้น สังคมใด ประเทศใด มีผู้นำผู้บริหารที่ไม่เห็นว่าเล็กว่าน้อย และไม่เห็นแก่เล็กแก่น้อยในทุกเรื่อง สังคมนั้น ประเทศนั้นย่อมหวังความเจริญวัฒนาสถาพรได้ ความเสื่อมย่อมไม่มี

ประการที่สาม ความมีปัญญารู้เท่าทันเหตุการณ์ มีอรรถาธิบายว่า หนึ่ง รู้ทางแห่งความเจริญ หมายถึง รู้ก้าว รู้เกาะและรู้เก็บ

ความก้าวหน้า เป็นเครื่องหมายของความเจริญ การก้าวนั้น ถ้าจะไม่ให้พลาด ต้องมีเครื่องเกาะ ทั้งเหตุภายนอกและเหตุ ภายใน ความรู้ ความฉลาด ความสามารถ และความปฏิบัติชอบ เป็นเครื่องเกาะ เพื่อป้องกันความผิดพลาด หรือลื่นล้ม

ส่วนรู้เก็บ ตรงข้ามกับรู้ทิ้ง รู้ทิ้งใช้ไม่ได้ ส่วนรู้เก็บเป็นเรื่องสำคัญ

สอง รู้ทางแห่งความเสื่อม หมายถึง รู้กัน รู้แก้ ความเสื่อมไม่มีใครชอบ ต้องรู้กัน แต่บางครั้ง ทั้งที่รู้กันก็ยังกันไม่ไหว จึงต้องรู้แก้ ทั้งรู้กัน รู้แก้ ต้องไปด้วยกันเสมอ

สาม รู้วิธีแก้ไขเหตุการณ์ หมายถึงรู้เท่าทันทั้งทางได้ทางเสีย แท้จริงเรื่องได้เรื่องเสียนี้มีอยู่ประจำโลก ได้ไม่มีเสีย หรือเสียไม่มีได้ เห็นจะไม่มีแน่ ส่วนใครจะได้ ใครจะเสีย หรือสิ่งใดได้มา สิ่งใดเสียไปนั้น เป็นอีกเรื่องหนึ่ง

โบราณท่านสอนให้เทียบเคียงดู คือเทียบได้เทียบเสียในการกระทำอะไรลงไปตามหน้าที่ ถ้าเป็นการเสียเพื่อได้ ควรทำ เช่น ชาวนาลงทุนเอาข้าวไปหว่านในนา แน่นอนต้องเสียพันธุ์ข้าวในเบื้องต้น แต่เป็นการเสียเพื่อได้ข้าวในภายหน้า

ส่วนการได้เพื่อเสียเป็นเรื่องที่ต้องระมัดระวัง ตัวเราได้ แต่คนอื่นต้องเสียผลประโยชน์มหาศาล ผู้นำผู้บริหารไม่ควรจะทำเลย

ประการที่สี่ การจัดแจงการงานดี มีอรรถาธิบายว่า ทำงานรวดเร็ว เรียบร้อย ได้ผลงาน เพราะมีคุณสมบัติสองอย่าง กล่าวคือ สามารถทำหนึ่ง สามารถจัดหนึ่ง การงานจึงไม่เสียหาย ไม่เสียเวลาทำงาน ทำได้เหมาะสม ไม่สักแต่ว่าทำ

ความสามารถทำ และความสามารถจัด เป็นหลักสำคัญที่ขาดไม่ได้ในกิจการทั้งปวง ผู้นำหรือผู้บริหารต้องทำได้ด้วย ต้องจัดได้ด้วย ถึงคราวทำก็ทำได้ ถึงคราวจัดก็จัดได้ เรียกว่ามือเก่ง ปากเก่ง มือทำได้ ปากสั่งได้

คนบางคนสามารถจัดได้ คือสามารถ แนะนำได้ว่าต้องทำอย่างนั้น ต้องทำอย่างนี้ แต่พอให้ลองทำดู กลับทำไม่ได้ ทำไม่เป็น เข้าตำราที่ว่าดีแต่พูด

การจัดแจงการงานดีนั้น ต้องอาศัยการฝึกฝน ขยันทำงาน หาความรู้ ความชำนาญในการทำงานนั้น เป็นคนสู้งาน ไม่หนีงาน เพราะคนหนีงาน มักเป็นคนเขลา หนีความรู้ หนีความชำนาญ ที่ตนควรมีควรได้นั่นเอง

ความเป็นผู้สามารถทำได้ด้วยตนเอง เป็นการแสดงศักยภาพที่มีอยู่ในตัว ส่วนความเป็นผู้สามารถจัด เป็นการแสดงศักยภาพนั้นให้ปรากฏแก่ผู้อื่น ผู้นำ ผู้บริหาร ผู้ปกครอง จึงไม่ควรมองข้ามคุณธรรมข้อนี้

จริงอยู่ อันกลไกของการบริหารการปกครองนั้น มีผู้รู้แสดงทัศนะว่า จะให้ตรงอยู่ตลอดเวลาไม่ได้ ต้องคดบ้าง งอบ้าง ตามวิสัย และจังหวะ ไม่ควรตำหนิว่าเป็นเรื่องไม่เหมาะไม่ควรไปเสียทั้งหมด

เพราะในเมื่อการคด การงอนั้น ดำเนินไปโดยแยบคาย มุ่งหมายประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติ และประชาชนเป็นหลักสำคัญ ดังคำประพันธ์ของนักปราชญ์ ที่ว่า “คดเข้าวง ตรงได้เส้น งอเป็นฉาก จะเอ่ยปากติกันไม้อันไหน” ไม้สามอันนี้ เมื่อพิจารณาแล้วจะติไม้อันไหนได้ จะติว่า คด ก็คดเข้าวง จะติว่าตรงก็ตรงได้เส้น จะติว่างอ ก็งอเป็นฉาก จึงเป็นเรื่องที่ผู้นำ ผู้บริหาร ผู้ปกครอง ควรพิจารณา

คุณธรรมทั้งสี่ประการ ดังรับพระราชทานถวายวิสัชนามานี้ เป็นกลไกการปกครอง การบริหาร ที่โบราณท่านนำมาอบรมสั่งสอน เพื่อเป็นทุนไว้ในใจของผู้ปกครอง ผู้นำสังคม ตั้งแต่ระดับล่าง จนถึงระดับสูง

หากผู้นำ ผู้ปกครองทุกสังคม สามารถปฏิบัติตามได้ เชื่อได้แน่ว่า ความเจริญรุ่งเรือง ความมั่นคง ความมั่งคั่ง ความวัฒนาสถาพร จะเกิดมีได้อย่างแท้จริง

• พระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ 8


พระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร (รัชกาลที่ 8) อยู่ในพระอิริยาบถประทับยืน ฉลองพระองค์เครื่องแบบจอมพล พระหัตถ์ขวา ทรงพระคฑาจอมพล พระหัตถ์ซ้ายทรงพระแสงกระบี่ ปั้นหล่อด้วยวัสดุโลหะ ที่มีส่วนผสมของทองแดง 87% สังกะสี 5% ตะกั่ว 5% และดีบุก 3% รมดำผิวนอก ให้มีสีคล้ายเมล็ดมะขามสุก ประดิษฐาน บนพระแท่นที่ความสูงระดับเดียวกันกับราวสะพานพระราม 8 เพื่อให้พระบรมราชานุสาวรีย์ซึ่งประดิษฐานอยู่ในบริเวณสวนหลวงพระราม 8 มีความยิ่งใหญ่สง่างาม สมพระเกียรติ

โดยพระบรมราชานุสาวรีย์ ได้นำต้นแบบมาจากที่ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี และอาจารย์ไพฑูรย์ เมืองสมบูรณ์ ได้ออกแบบปั้นรูปพระเศียร และส่วนองค์ไว้ในสมัยนั้นที่หอต้นแบบประติมากรรม มาดำเนินการร่วมกับคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประมาณปี 2547 แล้วเสร็จปี 2552 โดยมีประติมากร 3 ท่าน ได้แก่ อ.ชิน ประสงค์ อ.บุญส่ง นุชน้อมบุญ และ อ.ขวัญเมือง ยงประยูร ร่วมกันขยายจากต้นแบบรูปปั้นจาก 1 เท่าเป็น 3 เท่าของพระองค์จริง วัดความสูงเฉพาะองค์ สูง 5.34 เมตร นับว่ามีขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่ได้มีการจัดสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ ใช้ระยะเวลาการจัดสร้าง 18 เดือน งบประมาณในส่วนการหล่อพระบรมราชานุสาวรีย์ จำนวน 10 ล้านบาท

(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 139 กรกฎาคม 2555 โดย กองบรรณาธิการ)

 

วันพฤหัสบดีที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

พระอานนท์ พุทธอนุชา

พระอานนท์ พุทธอนุชา

โดย อาจารย์ วศิน อินทสระ

ดาวโหลด : http://www.ebooks.in.th/ebook/846/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B9%8C%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%8A%E0%B8%B2/


เปิดใจรับความสุข

 เปิดใจรับความสุข

โดย พระไพศาล วิสาโล

ดาวน์โหลด : http://www.kanlayanatam.com/Mybookneanam/perdjai.htm


ลำธารริมลานธรรม

ลำธารริมลานธรรม

โดย พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล

ดาวน์โหลด : http://www.kanlayanatam.com/Mybookneanam/lamtharn.htm


คุณของพระสารีบุตร

คุณของพระสารีบุตร
พระสารีบุตร อัตรสาวกเบี้ยงขวา ของพระพุทธเจ้า
แม่ทัพธรรม ผู้ที่สามารถหมุนกงล้อแห่งธรรม ได้เช่นเดียวกับพระพุทธเจ้า
ผู้ที่สามารถแสดงธรรมให้กระจ่างแจ้ง เกือบเสมอเหมือน พระพุทธเจ้า
ผู้ที่พระพุทธองค์ไว้วางพระทัย ให้เผยแผ่ธรรมแทนพระองค์
ผู้ที่พระพุทธองค์ทรงยกย่องว่า มีปัญญามาก มีปัญญาเฉียบคม มีปัญญาไว.....
จากคุณงามความดีของพระสารีบุตร
เรายังได้เรียนรู้หลักธรรมบางประการจากชีวิตของท่านอีกด้วย
อีกหนึ่งผลงานของท่าน อ.วศิน อินทสระ

ดาวน์โหลด : http://www.kanlayanatam.com/Mybookneanam/prasareebud.htm

อัตตชีวประวัติ อ.วศิน อินทสระ

อัตตชีวประวัติ อ.วศิน อินทสระ
อ.วศิน อินทสระ ปราชญ์แห่งวงการพุทธศาสนาอีกท่านหนึ่ง ท่านเป็นเสมือน เพชรน้ำเอก แห่งวงการพุทธศาสนา ในชีวิตท่านมีคำบรรยายออกมามากมาย รวมทั้งหนังสือธรรมะต่างๆ ที่ได้อธิบายเกี่ยวกับหลักธรรม ให้เราท่านทั้งหลายได้เข้าใจง่ายขึ้น การศึกษาชีวิตของครูบาอาจารย์เป็นอีกทางหนึ่ง ที่เราจะได้เข้าใจแนวทางการใช้ชีวิต และหลักธรรมต่างๆ ที่ครูบาอาจารย์ท่านได้ปฏิบัติมา ดาวน์โหลด : http://www.kanlayanatam.com/Mybookneanam/AW_Uttacheevapravat.htm

ความดีและอานุภาพของความดี

ความดีและอานุภาพของความดี
โดย อ.วศิน อินทสระ อะไรคือ ความดี ...??? อะไรคือ ความชั่ว ....??? ทำไมทำดีแล้วไม่ได้ดี....??? อานุภาพของความดีคืออะไร...??? วิธีการสร้างความดี...??? ในทางพุทธศาสนาถือว่า การกระทำใดๆ ทั้งกาย วาจา ใจ ที่ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่นให้เดือดร้อน และมีประโยชน์ ก็ถือว่าเป็นความดี การกระทำใดๆ ทั้งกาย วาจา ใจ ที่ทำให้ตนเองและผู้อื่นมีความเพลิดเพลิน แต่ไม่มีประโยชน์ ซ้ำยังอาจเป็นโทษด้วย ก็ถือว่าเป็นความชั่ว ลองมาศึกษากันดูไหม... ว่าอะไรคือความดี ? แล้วเราจะทำดีได้อย่างไร ? ทำดีแล้ว มีอานุภาพอย่างไร ? ดาวน์โหลด : http://www.kanlayanatam.com/Mybookneanam/kvamdee.htm

ลำธารริมลานธรรม

ลำธารริมลานธรรม โดย พอจ. ไพศาล วิสาโล
เกร็ดประวัติและเรื่องราวของครูบาอาจารย์ที่เป็นพระสุปฏิปันโนนั้น นอกจากเป็นแบบอย่างแห่งการดำเนินชีวิตที่งดงามแล้ว ยังเป็นภาพปรากฏแห่งธรรมที่มีชีวิตชีวา อันเราสามารถแลเห็นและจับต้องได้ ทำให้ธรรมะมิใช่เป็นเพียงแค่หลักการทางนามธรรม ที่ต้องใช้เหตุผล ในการทำความเข้าใจเท่านั้น รูปธรรมแห่งธรรมะดังกล่าวสามารถให้แรงบันดาลใจแก่ผู้คน ในการน้อมนำมาปฏิบัติได้เป็นอย่างดี ใช่แต่เท่านั้น เรื่องราวของท่านเหล่านั้น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นบุคคลในอดีต ยังสะท้อนให้เห็นถึงขนบธรรมเนียมหรือวิถีปฏิบัติอันดีงาม ของสงฆ์ที่นับวันจะเลือนหายไป ด้วยเหตุนี้ข้าพเจ้าจึงเห็นว่า การนำเกร็ดประวัติของพระดีพระแท้ทั้งหลาย มาเรียบเรียงเผยแพร่จะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่าน เช่นเดียวกับที่ข้าพเจ้าเคยได้รับมาแล้ว ดาวน์โหลด : http://www.kanlayanatam.com/Mybookneanam/lamtharn2.htm

หน้าที่ของคน

หน้าที่ของคน เรียบเรียงโดย เขมกะ ดาวน์โหลด : www.kanlayanatam.com/Mybookneanam/kon1.pdf

คุณลักษณะและกระบวนการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมของประเทศอินเดีย

คุณลักษณะและกระบวนการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมของประเทศอินเดีย http://dl.moralcenter.or.th/elibrary_print.php?ebook_id=B0100

นิทานคุณธรรม สัตว์ประหลาดของอารีย์

นิทานคุณธรรม สัตว์ประหลาดของอารีย์ http://dl.moralcenter.or.th/elibrary_info.php?view_id=112

โรงเรียนคุณธรรม

โรงเรียนคุณธรรม http://dl.moralcenter.or.th/elibrary_print.php?ebook_id=B0100

สังคมคุณธรรม

สังคมคุณธรรม http://dl.moralcenter.or.th/elibrary_print.php?ebook_id=B0099

วิธีคิดกระบวนระบบ

วิธีคิดกระบวนระบบ http://dl.moralcenter.or.th/elibrary_print.php?ebook_id=B0089

การเจริญสติวิปัสสนา

การเจริญสติวิปัสสนา http://dl.moralcenter.or.th/elibrary_print.php?ebook_id=B0088

จิตตศิลป์

จิตตศิลป์ http://dl.moralcenter.or.th/elibrary_print.php?ebook_id=B0085

นิเวศน์ภาวนา

นิเวศน์ภาวนา http://dl.moralcenter.or.th/elibrary_print.php?ebook_id=B0086

จุดประกายผู้นำแห่งอนาคต

จุดประกายผู้นำแห่งอนาคต http://dl.moralcenter.or.th/elibrary_print.php?ebook_id=B0079

ต้นแบบธุรกิจคุณธรรม 7 บริษัท : โครงการส่งเสริมกระบวนการธุรกิจคุณธรรมในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

ต้นแบบธุรกิจคุณธรรม 7 บริษัท : โครงการส่งเสริมกระบวนการธุรกิจคุณธรรมในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม http://dl.moralcenter.or.th/elibrary_print.php?ebook_id=B0078

การปลูกฝังคุณธรรมในเด็กปฐมวัยผ่านกระบวนสร้างสรรค์ของแกนนำโรงเรียนวิถีพุทธ

รายงานการวิจัย การปลูกฝังคุณธรรมในเด็กปฐมวัยผ่านกระบวนสร้างสรรค์ของแกนนำโรงเรียนวิถีพุทธ 1 http://dl.moralcenter.or.th/elibrary_print.php?ebook_id=B0067 ย่างก้าวแห่งความเข้าใจ ความผูกพันของเยาวชน 3 ศาสนา http://dl.moralcenter.or.th/elibrary_print.php?ebook_id=B0074

คุณลักษณะและกระบวนการปลูกฝังคุณธรรมและจริยธรรมประเทศแคนาดา

คุณลักษณะและกระบวนการปลูกฝังคุณธรรมและจริยธรรมประเทศแคนาดา http://dl.moralcenter.or.th/elibrary_print.php?ebook_id=B0066

ครอบครัวคุณธรรม

ครอบครัวคุณธรรม http://dl.moralcenter.or.th/elibrary_print.php?ebook_id=B0093

จิตอาสาพลังสร้างโลก

จิตอาสาพลังสร้างโลก http://dl.moralcenter.or.th/elibrary_print.php?ebook_id=B0146

การทำงานเชิงอาสาสมัคร

การทำงานเชิงอาสาสมัคร http://dl.moralcenter.or.th/elibrary_print.php?ebook_id=B0142

ชีวิตงามด้วยความดี 6

ชีวิตงามด้วยความดี 6 - ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม http://dl.moralcenter.or.th/elibrary_print.php?ebook_id=B0091

ชีวิตงามด้วยความดี 5

ชีวิตงามด้วยความดี 5 - ศาสตราจารย์กิตติคุณ สุมน อมรวิวัฒน์ http://dl.moralcenter.or.th/elibrary_print.php?ebook_id=B0097

ชีวิตงามด้วยความดี 4

ชีวิตงามด้วยความดี 4 - ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ ประเวศ วะสี http://dl.moralcenter.or.th/elibrary_print.php?ebook_id=B0095

ชีวิตงามด้วยความดี 3

ชีวิตงามด้วยความดี 3 - ศาสตราจารย์ เสน่ห์ จามริก http://dl.moralcenter.or.th/elibrary_print.php?ebook_id=B0090

ชีวิตงามด้วยความดี 2

ชีวิตงามด้วยความดี 2 - ศาสตราจารย์ ธานินทร์ กรัยวิเชียร http://dl.moralcenter.or.th/elibrary_print.php?ebook_id=B0094

ชีวิตงามด้วยความดี 1

ชีวิตงามด้วยความดี - ศาสตราจารย์ ระพี สาคริก http://dl.moralcenter.or.th/elibrary_print.php?ebook_id=B0096