วันอังคารที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2552

พรปีใหม่ 2553 โดยพระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี

พรปีใหม่ 2553 โดยพระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี



พลังทั้ง 4 เพื่อความสวัสดีของสังคมไทย

สังคมไทยป่วยด้วยโรค ′การเมืองวิกฤต เศรษฐกิจวิกล คนวิวาท ชาติวิโยค′ มาหลายปี การจะหายจากโรคนี้ได้ คนไทยต้องร่วมกันสร้าง ′พลัง′ แห่งธรรมะ 4 ประการขึ้นมาในใจของแต่ละคน ธรรมะที่จะทำให้สังคมไทยมีพลังทั้ง 4 ประการคือ



1) พลังปัญญา = ลดการใช้ความรู้สึกลง เพิ่มการใช้เหตุผลให้มากขึ้น
2) พลังความเพียร = ลดการพึ่งไสยศาสตร์ลง พึ่งตนเองให้มากขึ้น
3) พลังความสุจริต = ลดการทุจริตลง เพิ่มความซื่อสัตย์โปร่งใสให้มากขึ้น
4) พลังความสามัคคี = ลดการขัดแย้งลง เพิ่มความสามัคคีให้มากขึ้น



ขอความสวัสดีจงมีแก่สรรพชีพ สรรพสัตว์ ในที่ทุกสถานในการทุกเมื่อเทอญ



พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี
ผู้อำนวยการสถาบันวิมุตตยาลัย
สถาบันการศึกษา วิจัย ภาวนา เพื่อสันติภาพโลก

วันเสาร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2552



"ขอขอบพระทัยและขอบใจท่านทั้งหลายเป็นอย่างยิ่ง ที่มีไมตรีจิต พรั่งพร้อมกันมาให้พรวันเกิด ด้วยถ้อยคำที่เลือกสรรมาจากใจจริง ซึ่งปราถนาดีมุ่งหมายให้ข้าพเจ้ามีความสุข ความสวัสดีด้วยประการต่างๆ ความสุข ความสวัสดีของข้าพเจ้าจะเกิดขึ้นได้ ก็ด้วยบ้านเมืองของเรามีความเจริญมั่นคง เป็นปกติสุข ความเจริญมั่นคงทั้งนั้นจะสำเร็จผลเป็นจริงไปได้ ก็ด้วยทุกคนทุกฝ่ายในชาติ มุ่งที่จะปฏิบัติหน้าที่ของตนให้เต็มกำลัง ด้วยสติ รู้ตัว ด้วยปัญญา รู้ผิด และด้วยความสุจริต จริงใจ โดยเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมยิ่งกว่าส่วนอื่น

จึงขอให้ท่านทั้งหลายในที่นี้ ซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่สำคัญอยู่ในสถาบันหลักของประเทศ และชาวไทยทุกคน หมู่เหล่า ทำความเข้าใจในหน้าที่ของตนให้กระจ่าง แล้วทำตั้งจิต ตั้งใจ ให้เที่ยงตรงหนักแน่น ที่จะปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ดีที่สุด เพื่อให้สำเร็จประโยชน์ส่วนรวมอันไพบูลย์ คือ ชาติ บ้านเมือง อันเป็นถิ่นที่อยู่ที่ทำกินของเรา มีความเจริญ มั่นคง ยั่งยืนไป

ขออำนาจแห่งคุณพระรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ จงคุ้มครองรักษาท่านให้ปราศจากทุกข์ ปราศจากภัย และอำนวยสุขสิริสวัสดิ์ พิพัฒนมงคลให้สัมฤทธิผลขึ้นแก่ท่าน ทั่วหน้ากัน"

พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
5 ธันวาคม 2552
ในพระราชพิธีออกมหาสมาคมเนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา
ณ พระที่นั่งอัมรินทรวินิจฉัย ในพระบรมมหาราชวัง

วันพุธที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ถวายพระพรวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๒







ในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๒ ข้าพระพุทธเจ้าขออาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัย รวมทั้งพระะบรมเดชานุภาพขององค์สมเด็จพระบุรพมหากษัตริยาธิราชเจ้าทุกพระองค์ เทวานุภาพแห่งองค์พระสยามเทวาธิราช พระหลักเมือง พระเสื้อเมือง พระทรงเมือง และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายในสากลพิภพ โปรดอภิบาลให้ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทจงมีพระสุขภาพพลานามัยแข็งแรง ปราศจากพระโรคาพาธทั้งปวง ทรงเจริญพระชนมพรรษายิ่งยืนนาน สถิตย์เป็นมิ่งขวัญของพสกนิกรชาวไทยสืบต่อไปชั่วกาลนานเทอญ

ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ

วันพฤหัสบดีที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2552




"อย่ามัวแต่ห่วงว่าเขาจะตอบแทนไม่คุ้มกับความดีที่เราทำแก่เขา เพราะความดีของเราถ้าดีจริงย่อมยิ่งใหญ่เกินกว่าที่ใครจะตอบแทนให้คุ้มกันได้หลายเท่าตัวนัก"

พุทธทาสภิกขุ

วันเสาร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2552

เอกสารประกอบการบรรยาย

หลักจริยธรรม

Download Now

พฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการทุจริต 1

Download Now

พฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการทุจริต 2

Download Now

จริยธรรมวิชาชีพ

Download Now

การพัฒนาจริยธรรม

Download Now

วันจันทร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2552

บทความเกี่ยวกับจริยธรรมผู้บริหาร

กบข.ขาดทุน..เรื่องเล็ก จริยธรรมผู้บริหาร..ใหญ่กว่า แก้วิกฤตศรัทธาสกัดการเมือง

คลิกที่นี่เพื่อดาวน์โหลด

กลไกพัฒนาคนสู่สังคมมีคุณภาพ

คลิกที่นี่เพื่อดาวน์โหลด
การบริหารด้วยสัปปุริสสธรรม

คลิกที่นี่เพื่อดาวน์โหลด
คำพ่อ-คำแม่

คลิกที่นี่เพื่อดาวน์โหลด

การพัฒนาศักยภาพในวัยศึกษา

คลิกที่นี่เพื่อดาวน์โหลด

วันอาทิตย์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2552

จะสร้างชีวิตสมบูรณ์พูนสุขอย่างไร




จะสร้างชีวิตสมบูรณ์พูนสุขอย่างไร
กำหนดความคิดว่าฉันเป็นคนสมบูรณ์พูนสุขที่สุด
ความคิดเป็นตัวที่จับให้มั่นได้ยากเหมือนม้าเหมือนวานรจะคล้องบังคับจับให้มั่นได้จะต้องใช้ความประณีตกับอารมณ์ให้มาก

แต่ก่อนยังมีายคนหนึ่งเรียนถามท่านอาจารย์ไป๋อวิ๋นว่า “ความคิดจิตใจของศิษย์กำราบไว้ไม่อยู่ได้ควรทำประการใด?”

อาจารยไป๋อวิ๋นย้อนถามว่า“เป็นความคิดจิตใจของผู้ใดหรือ”ตอบว่า“ของศิษย์เอง”

ท่านถามต่อไปว่า“ใครเป็นผู้กำราบ?”ศิษย์ฉงนตอบไม่ถูกได้แต่นิ่งอึ้งยิ้มอยู่
อาจารย์ ว่า “จะมาจะไปเจ้าวุ่นวายเองไม่มีผู้ใหญ่เป็นหลักถ้าเอาชนะมันไม่ได้จงวางมันลง ไปยังจะต้องรู้ว่าที่วางมันลงไปนั้นเป็นใครถ้าเข้าใจก็จะมีผู้ใหญ่เป็นหลัก ไม่ต้องถูกมันหลอกล่อเอาอีก”

ไห่เอวี้ยจึงได้เข้าใจกราบขอบพระคุณแล้วกราบลาไป

ใคร ที่ทำให้ตนเองเกิดความคิดว่าตนเองเบิกบานสมบูรณ์พูนสุขเสมอได้ผู้นั้นจะต้อง เป็นผู้สูงด้วยปัญญาอย่างแน่นอนตรงกันข้ามคนที่ทำให้ตนเองเกิดความคิดว่า เคราะห์ร้ายทุกข์ยากเศร้าโศกเสมอผู้นั้นจะต้องเป็นคนโง่อย่างหาที่เปรียบไม่ ได้

แตกต่างกันแค่ความคิดก็ผิดแผกกันดังฟ้ากับดินทีเดียวพุทธะจึงว่า“หนึ่งความคิดคือหนึ่งวัฏจักร”คือเหตุผลนี้

ผู้ เขียนเองก่อนลุกขื้นจากเตียงนอนตอนเช้ามักจะเผยอเปลือกตาขึ้นสองส่วนหลับ อยู่แปดส่วนในใจกำหนดว่าตนเองเป็นคนสมบูรณ์พูนสุขที่สุดฟ้าได้โปรดประทาน ปัญญาสูงสุดให้ไว้ประทานศิลปสุนทรีย์ภาพสูงสุดโอกาสดีที่สุดความรักอันโอฬาร พลังวิริยะไม่รู้จบไว้ให้ญาติเพื่อนฝูงที่หายากอีกมากมาย...

ผู้ เขียนเองปักใจว่าตนเองได้ครอบครองความสมบูรณ์เหล่านี้อยู่จนกระทั่งฝังใจ หยั่งรากลึกลงในจิตสำนึกแล้วเกิดเป็นผลสะท้อนอย่างเด็ดเดี่ยวต่อพฤติกรรมของ ตัวเองนี่ก็คือ“ศรัทธาความคิด”

จะทำให้ตนเองสมบูรณ์พูนสุขจะต้องไม่ยึดบริเวณเฉพาะตนเพราะจะเป็นการจำกัดขอบเขตให้ตนเองจงขยายส่วนกว้างส่วนลึกออกไป

ลอง สมมุติเอาว่าตนเองนั่งอยู่บนเก้าอี้ถ้าคิดว่าเป็นสัดส่วนเฉพาะตนก็จะถูก จำกัดอยู่บนสัดส่วนนั้น ถ้าเลื่อนเก้าอี้ออกไปเสียพื้นกว้างทั่วบริเวณนั้นเป็นที่นั่งของฉันได้ทั้ง หมดหรือฟ้าดินกว้างใหญ่ทั้งหมดเป็นที่ท่านจะท่องเที่ยวไปได้ทั้งนั้นจะ รู้สึกเป็นอิสระเบิกบานปานใด

พึงรู้ไว้ว่าระหว่างฟ้ากว้างแผ่นดินใหญ่คนเป็นสิ่งล้ำค่าสูงส่งกว่าใดๆในท่ามกลาง

แม้ ที่อยู่จะใหญ่โตโหฐานตกแต่งวิจิตรตระการตาสำหรับฉันนั้นไม่ถือเป็นการเสพสุข ตรงกันข้ามทุกอย่างแย่กว่านี้ก็ไม่รู้สึกอัดอั้น เห็นบางคนเมื่อจะตัดผมจะต้องเข้าร้านหรูหราชั้นสูงมีระดับขึ้นรถไฟก็จะต้อง ขบวนพิเศษชั้นหนึ่งนั่นคือจำกัดขอบเขตให้ตนเองหาความกังวลให้ตนเองสมมุติว่า ถ้ามีสักครั้งไม่มีรถชั้นหนึ่งมีเหตุจำเป็นจะต้องไปรถธรรมดาชั้นสามเชื่อว่า เขาจะต้องอึดอัดกลัดกลุ้มอยู่บนรถไฟชั้นสามธรรมดาไปตลอดทางถ้ามีเหตุตก ค้างอยู่ต่างจังหวัดถึงเวลาจะต้องตัดผมไม่มีร้านตัดผมหรูหราชั้นสูงอย่างเคย เขาจะลำบากใจเพียงไรอย่างนี้ถ้าไม่ใฝ่หาความยุ่งยากให้กับตัวเองเเล้วจะเรี ยกว่าอะไร
จะให้ตนเองมีความสมบูรณ์พูนสุขจะต้องใช้เจตนาดีแจกแจงทุกอย่าง
โลก ที่เราอยู่มีทุกสิ่งอย่างตรงกันข้ามคู่กันมีสวยก็มีขี้ริ้ว มีบน-ล่างสูง-ต่ำอ้วน-ผอมเล็ก-ใหญ่ฯลฯฉะนั้นก่อนอื่นสาวสวยจะต้องรู้สึกขอบ คุณเป็นอย่างยิ่งต่อหล่อนทั้งหลายที่ใบหน้าเหยเกดูไม่ได้ถ้าไม่มีความไม่สวย ของหล่อนเหล่านั้นจะเปรียบเทียบสะท้อนให้เห็นความสวยของเธอได้อย่างไร
ในขณะที่มีคนวิจารณ์ว่าร้ายเราแสดงให้เห็นว่ามีคนกำลังชื่นชมเห็นใจเราอยู่มีคนเกลียดเราแสดงว่ามีคนกำลังรักเราปกป้องเราอยู่ด้วย

ลอง ยื่นมือออกมาสิมีด้านสว่างมีด้านมืดถ้าเราจะพูดว่าเขาเป็นคนดีเรือก็พูดถึง ด้านสว่างของเขาตรงกันข้ามถ้าจะพูดว่าเขาเป็นคนเลวเราก็จะพูดถึงความมืดของ เขา

แต่ ก่อนมีเจ้าเมืองท่านหนึ่งเกิดมาพิกลพิการแขนขาข้างซ้ายด้วนไปเหลือแต่ข้าง ขวาแต่ท่านอยากให้ภาพของท่านปรากฏแก่ชนรุ่นหลังให้ชาวประชาชื่นชมรำลึกจึง ได้เรียกหาจิตรกรผีมือดีที่สุดในแผ่นดินมาวาดภาพให้จิตรกรคนนี้มิใช่ฝีมือ ธรรมดาวาดได้มีชีวิตชีวาเหมือนเจ้าเมืองจริงๆ

เจ้า เมืองดูแล้วกระอักกระอ่วนยิ่งนักแม้จะวาดให้ดีเพียงใดแต่ลักษณะพิการอย่าง นี้จะเปิดเผยถ่ายทอดต่อสายตาประชาชนสืบไปกระไรได้จึงประหารจิตรกรเพื่อลบ ความจำของเขาเสียจากนั้นก็เสาะหาจิตรกรคนที่สองมาคนที่สองได้ยินเรื่องราว เกี่ยวกับจิตรกรคนแรกมาแล้วเป็นบทเรียนจึงไม่กล้าวาดตามลักษณะความเป็นจริง ภาพที่ออกมาจึงมีแขนขาครบถ้วนสมบูรณ์ไม่มีที่ตำหนิเจ้าเมืองดูแล้วยิ่ง กระอักกระอ่วนเข้าไปอีกถึงกับตวาดใส่ว่า“ที่วาดนั้นไม่ใช่ข้าเจ้ากล้า ส่อเสียดข้าเชียวหรือ”แล้วเจ้าเมืองก็สั่งประหารจิตรกรคนที่สองเสียอีกคน หนึ่งไม่นานจิตรกรคนที่สามก็ถูกเรียกตัวเข้าเมืองมาเขาครุ่นคิดพิจารณาอยู่ นานไม่กล้าลงมือวาดง่ายๆสุดท้ายจึงได้ความคิดว่าจะต้องวาดด้านข้างเขาจัดการ วาดด้านขวาที่แขนขายังครบถ้วนอยู่ด้วยความตั้งใจไม่ให้ด้านซ้ายที่พิกลพิการ ปรากฏเลย
(เหมือนการปิดบังความชั่วของผู้อื่นเปีดเผยแต่ความดีของเขา) เจ้าเมืองพอใจมากจิตรกรผู้นี้จึงรอดดายและได้บำเหน็จรางวัลมากมายไป

อาจ มีวันใดที่เพื่อนรักของคุณเดินสวนทางเฉียดตัวคุณไปคุณดีใจทักทายแต่เขาไม่ ตอบรับจงคิดเสียว่าเขาคงสายตาสั้นเสียแล้วหรือเขาคงจะใจลอยเขาคงมีความทุกข์ มากมีปัญหาต้องครุ่นคิดมากฯลฯมองสบตากันก็ยังไม่เห็นช่างเถอะแล้วคุณก็ยังคง สบายใจต่อไปเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้นหรือคุณจะคิดว่ามันมีเหตุโกรธแค้นไม่พอ ใจอะไรเรามันใหญ่มาจากไหนมันเรียนสูงกว่าเกียรติยศตำแหน่งสูงกว่ารวยกว่า หรืออย่างไรยิงคิดยิ่งแค้นเจ็บจำฝังใจ

ดูเถิดว่าความกลัดกลุ้มวุ่นวายมากหลายตัวเองหามาเองทั้งนั้น ที่กล่าวมาเป็นวิธีสร้างสรรค์ให้ตนเองเกิดความสมบูรณ์พูนสุข

ส่วนวิธีลบล้างให้ตนปราศจากความกลัดกลุ้มวุ่นวายนั้นคือ

1. เก็บจิตเข้าไว้ที่ เกิดกลัดกลุ้มวุ่นวายนั้นล้วนเกิดจากปล่อยใจให้กระเจิงไปจับไปเกาะไปพัวไป พันไปยึดไปติดกับอะไรๆและเห็นมันเป็นสิ่งสำคัญของชีวิตท่านปราชญ์เมิ่งจื๊อ จึงได้กล่าวไว้ว่า

ธรรมะของการเรียนรู้ไม่มีอื่นใดเรียกจิตที่ปล่อยออกไปให้กลับมาเท่านั้นเองไก่หมาที่เลี้ยงไว้หายไปรู้จักเรียกหาจิตที่ปล่อยออกไปไมู่ร้จักเรียกหาน่าเศร้าแท้

2. เที่ยงตรงในความเห็นความทุกข์กังวลวุ่นวายใจมักเกิดจากความลำเอียงเห็นแก่ตัวเห็นผิดเป็นชอบเห็นกงจักรเป็นดอกบัวหากใช้ปัญญาเที่ยงธรรมปัญหาจะหมด

3. เห็นกฎแห่งกรรมเมื่อ ได้ยินคำพูดที่ไม่ควรได้ยินควรคิดถึงคำไม่ควรพูดที่ตนเคยพูดใครแสดงกิริยา อาการไม่ดีต่อเราให้รู้ทันทีว่านั่นเป็นการก่อกรรมถ้าคิดอย่างนี้แม้ใครจะ พูดบาดหูบาดใจใครจะแสดงอาการก็สงบใจลงได้เพราะนั่นอาจเป็นกรรมสนองเราหรือ กรรมที่เขาก่อเองไม่ควรเข้าไปเกี่ยวกรรม

4. การนินทาว่าร้ายเขาคือก่อกรรมถูก นินทาว่าร้ายคือได้สะเดาะเคราะห์กรรมนินทาว่าร้ายเขาดูเผินๆเหมือนได้เปรียบ แท้จริงคือเสียเปรียบโดยสิ้นเชิงก่อกรรมไม่รู้ตัวถูกนินทาว่าร้ายดูเหมือน เสียเปรียบแท้จริงเขาช่วยสะเดาะเคราะห์แก้กรรมให้แล้ว

5. ยกระดับจิตตัวเองอย่า มีใจคอเยี่ยงเขาการด่าทอแสดงโทสะต่อกันมักเกิดจากต่างยึดถือความเห็นของตน เป็นใหญ่ไม่ยอมลดละใจคอพอกันถ้ายกระดับจิตตัวเองได้เขากำลังด่ากำลังเกิด โทสะให้มองเห็นเป็นอาการอะไรสักอย่างหนึ่งให้เห็นเป็นกระจกส่องเงาตนเองหรือ ไม่เห็นอะไรเลย
6. ให้เห็นความเป็นธาตุสมมุติทุกอย่างใน โลกไม่ว่าจะมีอายุยืนยาวเพียงไรมั่นคงแข็งแรงสวยงามล้ำค่าแค่ไหนไม่พ้นจะ ต้องถึงวันแตกดับสูญสลายเพราะปลงไม่ตกว่ามันเป็นธาตุสมมุติเราจึงเศร้าโศก เสียใจหวงแหนเสียดายของรักของหลงจนต้องทะเลาะเบาะแว้งแย่งชิงในที่สุดตัวเอง ก็ต้องแตกดับสูญสลายตามไปวันใดในหนึ่งเช่นกัน

7. อย่าร้อนตัวรับบทแทนคนอื่นเขาตีวัวแต่เราชอบทำเป็นคราดบางครั้งวัวยังไม่รู้ตัวว่าถูกตีคราดเกิดอาการเจ็บปวดแล้วก็มี

ครั้ง หนึ่งเศรษฐีเชิญแขกผู้มีเกียรติหลายท่านมาร่วมงานสำคัญเลยเวลานัดหมายไปมาก อีกหลายคนยังไม่มาเศรษฐีกระวนกระวายบ่นไปลอยๆว่า“ที่ควรจะมาแล้วสิยังไม่มา ”แขกผู้มีเกียรติสามคนที่มาถึงอยู่ก่อนแล้วคนหนึ่งร้อนตัวลุกขึ้นลากลับด้วย ความไม่พอใจเศรษฐีรีบชี้แจงว่า“ผมไม่ได้ว่าคุณ”แขกผู้มีเกียรติอีกคนหนึ่ง ได้ยินคำนี้ก็ร้อนตัวบ้างลุกขึ้นลากลับด้วยความไม่พอใจเหมือนกันเศรษฐีก็ ร้อนรนชี้แจงอีกว่า“ผมก็ไม่ได้ว่าคุณ” แขกคนที่สามผลุดลุกขึ้นกระแทกเสียงว่า“ถ้าอย่างนั้นก็ต้องเป็นผมน่ะสิ”ว่า แล้วก็กระแทกเท้าออกจากงานไปเศรษฐีเกาหัวงุ่นง่านตะโกนตามหลังไปว่า“ไอ้ที่ ควรมาก็ยังไม่มาไอ้ที่ไม่ควรไปก็จะไป”เพิ่งพูดขาดคำผู้มีเกียรติสองคนแรก ทะลึ่งยืนพร้อมกันแล้วว่า“ไอ้ที่ควรไปคงต้องเป็นผมสินะ”ว่าแล้วก็ฮึดฮัดออก จากงานไปโดยไม่ยอมฟังเสียงของเศรษฐีอีกเลย

8. อย่าหวังว่าใครจะต้องเหมือนเรามีคำกล่าวว่า“ข้าวอย่างเดียวกันเลี้ยงคนร้อยพันต่างจิตต่างใจ”

อารมณ์ จิตใจของคนเราจะแตกต่างกันไปตามสภาพความเป็นอยู่ผู้คนรอบข้างตามระดับการ ศึกษาและความแตกต่างของลมฟ้าอากาศฯลฯจึงหาความพอดีเหมือนกันได้ยากดังคำที่ ว่า “เราจะเป็นที่ถูกใจคนทั้งร้อยไม่ได้คนทั้งร้อยจะเป็นที่ถูกใจเราทั้งหมดก็ ไม่มี”ฉะนั้นจึงอย่าหวังให้ใครเป็นอย่างที่เราต้องการ

9. อย่าให้ความสำคัญกับสิ่งที่ตนมีอยู่มากไปถ้า ถามนักการศึกษาว่าอะไรสำคัญที่สุดเขาจะตอบว่า“ก็วิชาความรู้นะสิ”ถ้าถามนัก เศรษฐศาสตร์เขาจะตอบว่า“ก็เงินนะสิ”ต่างก็จะหยิ่งในศักดิ์ศรีให้ความสำคัญใน สิ่งที่ตนมีในภาพยนตร์โทรทัศน์เรื่องเปาบุ้นจิ้นราชครูผังไท่ซือหยิ่งใน ศักดิ์ศรีให้ความสำคัญต่อฐานะราชครูของตนเองจนไม่เห็นนายอำเภอศาลไคฟงอยู่ใน สายตาจึงต้องย่ำแย่อับจนถึงที่สุด

10. สร้างความสุขให้เกิfขึ้นแก่ความคิดของใครๆเสมอใคร ที่พยายามหาทางสร้างความสุขให้เกิดขึ้นแก่ความคิดของใครๆเสมอเขาจะเป็นผู้ ได้รับความสุขนั้นก่อนใครๆความทุกข์กลัดกลุ้มก็จะไม่เกิดเช่นเรามีเรื่องขำ ขันอยากจะถ่ายทอดให้ผู้อื่นขำขันด้วยเพียงคิดเท่านั้นยังไม่ทันจะเอ่ยปาก เล่าเราเองก็นึกขำขันแล้วในใจความเบิกบานก็ตามมาถ้าเอาแต่จะจับผิดหาทาง จัดการกับใครๆขณะครุ่นคิดวางแผนตนเองก็เกิดทุกข์ก่อนเขาหาความสุขเบิกบานไม่ ได้

11. เห็นความเป็นจริงว่าฟ้าดินเป็นเตาหลอมคนเราอยู่ในท่ามกลางถึงอย่างไรเราก็หนีไม่พ้นจะต้องรับการเคี่ยวกรำอยู่แล้ว

คำโบราณกล่าวว่า“หยกไม่เจียระไนไม่ได้รูปทองไม่เผาไฟไม่มีค่า”
ธูปก็เช่นกันแม้ไม่จุดไฟหรือจะกระจายกลิ่นหอม

ท้อง ฟ้าเหมือนกะทะแผ่นดินเหมือนเตาไฟเราอยู่ในท่ามกลางถูกกำหนดวางมาอย่างนี้มี หรือจะไม่ถูกเคี่ยวกรำแต่ฟ้าดินไม่มีปากจะพูดจาจึงต้องอาศัยคนอาศัยเหตุ ต่างๆทางโลกมาทดสอบเรื่องแรงไฟสุขุมในจิตใจเราแรงไฟสุขุมเป็นแรงไฟที่ให้ ความอบอุ่นแก่ตนเองและผู้อื่นเมื่อตกอยู่ในภาวะถดถอยท้อแท้
หนาวสะท้านแรงไฟสุขุมเป็นพลังหล่อหลอมจิตใจให้มั่นคงสูงส่งต่อไปแต่มิใช่เป็นไฟเผาผลาญระรานทำลาย

12. กำไรชีวิตไม่ ว่าจะค้าขายหรือทำการใดทุกคนล้วนอยากได้กำไรกำไรเงินทองสิ่งของวัตถุความสุข ในอบายมุขเป็นกำไรชั่วขณะทางโลกยังอาจเป็นเหตุนำไปสู่การขาดทุนในวันข้าง หน้าได้

ข้อ คิดแนวทางการสร้างชิวิตสมบูรณ์พูนสุขที่ได้กล่าวมาเป็นคุณต่อชีวิตการปฏิบัติ บำเพ็ญเป็นคุณต่อชีวิตจิตญาณของตนและคนรอบข้างจึงน่าจะเป็นกำไรชีวิตได้ อย่างแท้จริง

http://www.mindcyber.com/content/data/0029-1.htm

วันเสาร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ประกวดคลื่นความคิดจากจิตวิวัฒน์

ประกวดคลื่นความคิดจากจิตวิวัฒน์

แผน งานพัฒนาจิตเพื่อสุขภาพ มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับหนังสือพิมพ์มติชน ขอเชิญผู้สนใจส่งความเรียงคลื่นความคิดจากจิตวิวัฒน์

โดยเนื้อหาถ่าย ทอดแก่น หรือถ่ายทอดวิธีคิด วิธีมองการประยุกต์เข้าสู่การมองโลกและการใช้ชีวิต จากการอ่านบทความจิตวิวัฒน์ โดยสืบค้นข้อมูลได้ที่ www.thaissf.org http:// jitwiwat.blogspot.com และคอลัมน์จิตวิวัฒน์ หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ทุกวันเสาร์

เงินรางวัลกว่า 60,000 บาท

หมดเขตส่งความเรียง วันที่ 30 กันยายน 2552 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 0-2511-5855 ต่อ 116

วันพฤหัสบดีที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

สไลด์ประกอบการบรรยาย

สไลด์ประกอบการบรรยายเรื่อง "การรู้จักตนเอง"

คลิกที่นี่เพื่อดาวน์โหลด

สไลด์ประกอบการบรรยายเรื่อง ทิศ 6 ครั้งที่ 1

คลิกที่นี่เพื่อดาวน์โหลด

สไลด์ประกอบการบรรยายเรื่อง ทิศ 6 ครั้งที่ 2

คลิกที่นี่เพื่อดาวน์โหลด

สไลด์ประกอบการบรรยายเรื่อง ทิศ 6 ครั้งที่ 3

คลิกที่นี่เพื่อดาวน์โหลด

วันพฤหัสบดีที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2552

วิชามารรัฐกิจ 101 ว่าด้วยการโกงรัฐให้แนบเนียน โดยไม่ต้องประมูลได้อย่างไร?

วิชามารรัฐกิจ 101 ว่าด้วยการโกงรัฐให้แนบเนียน โดยไม่ต้องประมูลได้อย่างไร?
โดย รองศาสตราจารย์ ดร. ต่อตระกูล ยมนาค

คลิกที่นี่เพื่อดาวน์โหลด

ชาดกเรื่อง มหากปิชาดก และสุมังคลชาดก

ชาดกเรื่อง "มหากปิชาดก"

คลิกที่นี่เพื่อดาวน์โหลด



ชาดกเรื่อง "สุมังคลชาดก"

คลิกที่นี่เพื่อดาวน์โหลด

วันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2552

กระปุกบุญ




เอกสารประกอบการนำเสนองานของกลุ่มที่ 4 เรื่อง กระปุกบุญ

กระปุกบุญ (วิธีการสะสมบุญ)
“บุญ” หมายถึง เครื่องชำระสันดาน ความดี กุศล ความสุข ความประพฤติชอบทางกาย วาจา และใจกุศลธรรม ทำความดี ทำสิ่งที่ดีงาม
พระพุทธเจ้าเคยเปรียบเปรยชีวิตมนุษย์ไว้ว่า ชีวิตมนุษย์เหมือนน้ำแก้วหนึ่งผสมกับเกลือ น้ำเปล่าก็คือบุญ เกลือก็คือกรรม ถ้าไม่หมั่นทำบุญเติมน้ำเปล่าลงไปในแก้ว น้ำนั้นก็จะเค็ม
ดังนั้นการทำบุญจึงเปรียบเสมือน การหยอดกระปุกออมสินของเราไปเรื่อยๆ คอยสั่งสมบุญกุศลให้มากขึ้นเรื่อย ๆ
ปัจจุบันมีคนเข้าใจผิดกันมาก ในเรื่องการทำบุญและการทำทาน เช่น.......อ่านต่อ คลิกที่นี่เพื่อดาวน์โหลด

Power point ประกอบการนำเสนองาน

คลิกที่นี่เพื่อดาวน์โหลด

วันอาทิตย์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ปัญญาพาสุข




ปัญญาพาสุข

คอลัมน์ มองอย่างพุธ

โดย พระไพศาล วิสาโล เครือข่ายพุทธิกา http://www.budnet.org


รายการ "พลเมืองเด็ก" ของทีวีไทยเป็นรายการที่พาผู้ชมไปรู้จักกับเด็กจากภูมิหลังที่หลายหลาย ซึ่งถูกชวนมาทำสาธารณประโยชน์ ผู้ชมจะได้เห็นว่าแต่ละคนมีวิธีคิดอย่างไร และแก้ปัญหาอย่างไรเมื่อประสบอุปสรรค เป็นรายการที่เหมาะทั้งกับเด็กและผู้ใหญ่ โดยเฉพาะผู้ที่เป็นพ่อแม่และครูบาอาจารย์

คราวหนึ่งรายการนี้ได้นำ เสนอเรื่องของเด็ก 3 คน ที่ได้รับมอบหมายให้ขนของขึ้นรถไฟ บังเอิญช่วงนั้นมีการถ่ายทอดสดการชกของสมจิตร จงจอหอ นักมวยเหรียญทองโอลิมปิค เด็กชาย 2 คนจึงทิ้งงานไปดูโทรทัศน์ที่ร้านข้างๆ ปล่อยให้เพื่อนซึ่งเป็นผู้หญิงขนของอยู่ผู้เดียว

เด็กหญิงทำงานไม่ หยุดเพื่อให้เสร็จทันเวลา พิธีกรจึงถามเธอว่า คิดอย่างไรกับเพื่อนอีก 2 คนที่ทิ้งงานไปดูโทรทัศน์ เธอตอบว่า เขาชอบดูมวย นานๆ จะมีรายการแบบนี้ทางโทรทัศน์ ก็ให้เขาดูไป หนูทำคนเดียวก็ได้ พิธีกรถามต่อว่า เธอไม่โกรธหรือไม่คิดจะไปต่อว่าเพื่อนทั้งสองหรือ คำตอบของเธอน่าสนใจมาก เธอว่า "หนูขนของขึ้นรถไฟ หนูก็เหนื่อยอย่างเดียว แต่ถ้าหนูไปด่าว่าเขา หนูก็ต้องเหนื่อยสองอย่าง"

คนส่วนใหญ่หากตก อยู่ในสภาพเดียวกับเด็กหญิงคนนี้ ย่อมอดโมโหเพื่อนร่วมงานไม่ได้ ดังนั้น จึงทำไปโกรธไป โดยหารู้ไม่ว่ายิ่งโกรธหรือยิ่งบ่นก็ยิ่งเป็นทุกข์ ไม่ใช่แค่เหนื่อยกายอย่างเดียว หากยังเหนื่อยใจด้วย และหากคุมความโกรธไม่ได้ เข้าไปต่อว่าหรือดุด่าเขา ก็ยิ่งเป็นทุกข์เพิ่มขึ้น ทุกข์ทั้งขณะที่กำลังต่อว่า และทุกข์เมื่อพบว่าเขายังคงดื้อรั้นไม่ยอมมาช่วย แถมตอบโต้กลับมาด้วยถ้อยคำรุนแรง

แต่เด็กหญิงคนนี้เห็นโทษของความ โกรธ เธอรู้ดีว่าเมื่อโกรธหรือดุด่าว่ากล่าวใคร คนแรกที่จะต้องเป็นทุกข์คือตัวเธอเอง ไม่ใช่ใครอื่น เธอจึงก้มหน้าก้มตาทำงานโดยไม่ปริปากบ่น เพราะเหนื่อยอย่างเดียวย่อมดีกว่าเหนื่อยสองอย่าง

สุขหรือทุกข์ขณะ ทำงาน ไม่ได้ขึ้นอยู่กับปริมาณหรือเนื้องานเท่านั้น แม้ทำงานอย่างเดียวกันก็ยังรู้สึกสุข-ทุกข์ต่างกัน นั้นเป็นเพราะทัศนคติหรือวิธีคิด คนที่คิดเป็นหรือฉลาดคิดย่อมทำงานอย่างมีความสุขได้ หรือถึงจะทุกข์ก็ทุกข์น้อยกว่าคนอื่น คือแค่เหนื่อยกายแต่ไม่เหนื่อยใจด้วย ถึงจะหนักก็หนักแต่งาน แต่ไม่หนักใจด้วย

มิใช่แต่เวลาทำงานเท่านั้น แม้เจอเหตุการณ์ที่ไม่น่ายินดี เช่น ของหาย เจ็บป่วย ตกงาน ถูกคนตำหนิ หากรู้จักคิดหรือฉลาดคิด จิตก็ไม่จ่อมจมอยู่ในความทุกข์ แถมยังสามารถมองเห็นข้อดีหรือใช้ประโยชน์จากเหตุการณ์เหล่านี้ได้ รวมทั้งสามารถแก้ไขปัญหาหรือพาตัวให้หลุดจากปัญหาเหล่านี้ได้

รู้จัก คิดหรือฉลาดคิด เป็นเรื่องของปัญญา หากมีปัญญาก็สามารถเปลื้องใจออกจากความทุกข์ และเข้าถึงความสุขได้ไม่ยาก ในโลกที่เต็มไปด้วยความผันผวน ปรวนแปร ไม่แน่นอน เราไม่สามารถควบคุมหรือแม้แต่คาดหวังให้ทุกอย่างเป็นไปตามใจเราได้ แต่หากเรามีปัญญา ไม่ว่าอะไรเกิดขึ้นกับเรา ก็ยังมีความสุขอยู่ได้ ดังมีพุทธพจน์ว่า "สำหรับผู้มีปัญญา แม้ตกทุกข์ ก็ยังหาสุขพบ"

ปัญญา คือหลักประกันแห่งความสุขที่แท้จริง ในทางตรงข้ามหากขาดปัญญาเสียแล้ว แม้ร่ำรวย มีอำนาจ สูงด้วยยศศักดิ์ ก็หาความสุขได้ยาก อย่างมากก็สุขกาย แต่ใจเต็มไปด้วยความทุกข์ ทุกข์เพราะรู้สึกว่ายังมีไม่พอ ทุกข์เพราะอยากได้มากกว่านี้ ทุกข์เพราะเห็นคนอื่นมีมากกว่าตน หรือทุกข์เพราะกลัวว่าคนอื่นจะมาแย่งชิงของของตนไป เมืองไทยทุกวันนี้เต็มไปด้วยคนที่ทุกข์เพราะเหตุเหล่านี้มาก

ทั้งๆ ที่มีอะไรต่ออะไรมากมาย ก็ยังเป็นทุกข์ จะกล่าวไปไยถึงคนที่ล้มเหลวในการตักตวงสิ่งต่างๆ มาครอบครอง แต่จะมีมากหรือน้อยก็ตาม ที่เป็นทุกข์ก็เพราะขาดปัญญานี้เอง อย่าว่าแต่ปัญญาระดับสูงถึงขั้นเห็นแจ้งในอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา จนปล่อยวางได้อย่างสิ้นเชิงเลย แม้แต่ปัญญาระดับพื้นฐาน ก็ถูกละเลยไปมาก จึงเกิดปัญหามากมายทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว ไปจนถึงสังคม

กล่าวโดยรวมแล้ว ความทุกข์ส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นกับผู้คนในเวลานี้ มาจากทัศนคติ 4 ประการ ซึ่งสวนทางกับวิถีแห่งปัญญาได้แก่

1.คิดถึงตนเองมากกว่าผู้อื่น

ยิ่ง คิดถึงตนเองมากเท่าไร ก็ยิ่งทุกข์มากเท่านั้น เพราะจะมองเห็นปัญหาของตนเป็นเรื่องใหญ่อยู่เสมอ ความเห็นแก่ตัวที่เพิ่มพูน จะทำให้กลายเป็นคนทุกข์ง่ายและสุขยาก

2.ยึดติดความสุขทางวัตถุ

ทัศนคติ ดังกล่าวทำให้หมกมุ่นกับการเสพและแสวงหาวัตถุ ได้เท่าไรก็ไม่รู้จักพอ เพราะคิดว่ายิ่งมีมาก ก็ยิ่งเป็นสุขมาก ชีวิตจึงไม่รู้จักกับความสงบเย็น

3.หวังลาภลอยคอยโชคและมุ่งทางลัด

ทัศนคติ เช่นนี้ทำให้ขาดความเพียร แต่ผลักให้เข้าหาการพนัน การพึ่งพาไสยศาสตร์ ส่งเสริมให้เกิดการคอร์รัปชั่น และการลักขโมย ซึ่งมีแต่จะทำให้ชีวิตตกต่ำลง

4.คิดอย่างไม่ถูกวิธี

ทำ ให้ตัดสินใจไปตามความชอบความชัง หรือตกอยู่ภายใต้อารมณ์และอคติ ถือเอา "ความถูกใจ" มากกว่า "ความถูกต้อง" ทำให้ไม่อาจทำการงานให้สำเร็จหรือแก้ปัญหาของตนได้

สังคมจะเจริญก้าว หน้า และผู้คนจะมีความสุข หากมีทัศนคติที่ตรงข้ามกับ 4 ประการข้างต้น กล่าวคือมีปัญญาเป็นพื้นฐานในการดำเนินชีวิต ทัศนคติ 4 ประการดังกล่าวได้แก่

1.คิดถึงผู้อื่นมากกว่าตนเอง

เมื่อเรา คิดถึงผู้อื่นอยู่เสมอ ตัวตนจะเล็กลง ความทุกข์ของเราจะกลายเป็นเรื่องเล็กน้อย ยิ่งช่วยผู้อื่นมากเท่าไร ก็ยิ่งมีความสุขเพราะได้เห็นผู้อื่นมีความสุขด้วย

2.เข้าถึงความสุขที่ไม่อิงวัตถุ

มี ความสุขมากมายที่ประเสริฐและประณีตกว่าความสุขทางวัตถุ สามารถสัมผัสได้โดยไม่ต้องใช้เงิน เช่น สุขจากการทำความดีและมีสัมพันธภาพที่อบอุ่นราบรื่น คนที่เข้าถึงความสุขชนิดนี้ ย่อมเป็นคนสุขง่าย ทุกข์ยาก

3.เชื่อมั่นในความเพียรของตน

ความ สุขและความสำเร็จนั้นล้วนอยู่ในวิสัยที่เราจะทำให้เกิดขึ้นได้ด้วยความเพียร ของเราเอง ทัศนคติดังกล่าวทำให้เรารู้จักพึ่งตน ไม่หวังพึ่งพาสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือโชควาสนา และห่างไกลจากการพนันและการฉ้อโกง

4.รู้จักคิดอย่างมีเหตุผลและเป็นประโยชน์เกื้อกูล

คิด ดี คิดเป็น และเห็นชอบ ทำให้เราสามารถอยู่ในโลกนี้ได้อย่างมีความสุข นอกจากไม่เบียดเบียนใครแล้ว ยังสามารถแก้ทุกข์ได้ด้วยตนเอง รวมทั้งเปลี่ยนร้ายให้กลายเป็นดีได้ จึงมีชีวิตได้ด้วยความมั่นใจในตนเอง

ทัศนคติ ทั้ง 4 ประการข้างต้นเป็นพื้นฐานของสุขภาวะทางปัญญา ซึ่งสังคมไทยต้องการเป็นอย่างยิ่ง ด้วยเหตุนี้เครือข่ายพุทธิกาจึงร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริม สุขภาพ (สสส.) จัดทำโครงการ "สุขแท้ด้วยปัญญา" ขึ้น เพื่อสนับสนุนกิจกรรมที่มุ่งส่งเสริมให้เกิดทัศนคติดังกล่าว โดยมีเงื่อนไขว่ากิจกรรมเหล่านี้ต้องประกอบด้วยกระบวนการ 4 ขั้นตอนคือ

1.การบำเพ็ญสาธารณประโยชน์

2.การร่วมกันทำงานเป็นกลุ่ม

3.การร่วมกันแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความคิดเห็น

4.การสรุปบทเรียนจากประสบการณ์เพื่อนำไปประยุกต์ใช้กับชีวิตและงาน

เราพบว่ากระบวนการทั้ง 4 ขั้นตอนสามารถบ่มเพาะทัศนคติและส่งเสริมให้เกิด

ปัญญา ได้ดีกว่าการฟังคำบรรยายหรือการประชุมสัมมนา เพราะเปิดโอกาสให้เกิดการเรียนรู้จากประสบการณ์และการปฏิบัติโดยตรง ซึ่งให้ผลที่ยั่งยืนกว่าการฟังเรื่องราวของคนอื่น ความรู้ที่เกิดจากการบรรยายหรือการเทศนานั้น อย่างมากก็เป็นได้แค่ "ความรู้ชั้นสอง" สำหรับผู้ฟัง แม้ความรู้ดังกล่าวจะจำเป็น แต่สิ่งที่สำคัญกว่าคือ "ความรู้ชั้นหนึ่ง" ที่เกิดจากการปฏิบัติและใคร่ครวญด้วยตนเอง

โครงการสุขแท้ด้วยปัญญา เริ่มต้นเมื่อปีที่แล้ว มี 54 โครงการเข้าร่วมจากทั่วประเทศ ครอบคลุมประเด็นที่หลากหลาย อาทิ สิ่งแวดล้อม การศึกษา ศิลปวัฒนธรรม และศาสนา ผู้เข้าร่วมมีตั้งแต่ ภิกษุสามเณร นักเรียน นักศึกษา เด็กออทิสติค ผู้พิการ จนถึงผู้ติดเชื้อ

หลังจากทำกิจกรรมเสร็จ แกนนำและผู้เข้าร่วมของทุกกิจกรรมได้ส่งตัวแทนมาร่วมกันแลกเปลี่ยน ประสบการณ์และสรุปบทเรียน ทำให้เกิดการเรียนรู้ที่หลากหลายและลุ่มลึกขึ้น หลายคนได้เล่าถึงบทเรียนและความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับตนเองจากกิจกรรม เหล่านี้

เด็กหญิงวัย 13 ปีเล่าว่า เธอสมัครเข้าค่ายละครด้วยความหวังที่สดสวย แต่ทันทีที่มาเห็นค่ายเธอก็รู้สึกผิดหวังอย่างแรง เพราะค่ายตั้งอยู่กลางทุ่งนา เธอต้องนอนในเต๊นท์ อาหารการกินก็ไม่ถูกปาก ที่ร้ายกว่านั้นก็คือไม่มีโทรทัศน์และสัญญาณโทรศัพท์ เธอต้องใช้ชีวิตที่ไม่คุ้นเคยและไม่สะดวกสบายเลย แต่หลายวันผ่านไปเธอก็เพลินกับกิจกรรม เพราะมีโอกาสได้คิดและทำละครด้วยตนเอง อีกทั้งยังได้พบปะสังสรรค์กับเพื่อนๆ เมื่อค่ายใกล้จะจบเธอก็ฉุกคิดขึ้นมาว่า ทำไมเธอถึงมีความสุขในค่าย ทั้งๆ ที่ไม่มีความสะดวกสบายเลย แล้วเธอก็พบว่า ความสุขไม่ได้อยู่ที่วัตถุหรือมีสิ่งอำนวยความสะดวก มิตรภาพกับการได้ทำสิ่งที่ตนเองรักก็เป็นบ่อเกิดแห่งความสุขเช่นกัน

นัก ศึกษาอีกคนเล่าว่า เธอกับเพื่อนๆ ไปเข้าค่ายบำเพ็ญประโยชน์ที่จังหวัดลำปาง ทีแรกเธอรู้สึกไม่พอใจที่อาจารย์พานักศึกษานั่งรถไฟชั้นสาม ซึ่งมีผู้โดยสารแออัด ที่แย่กว่านั้นก็คือพอเธอกลับจากห้องสุขา ก็พบว่าที่นั่งของเธอมีชาวบ้านมานั่งแทน เธอขุ่นเคืองใจมาก แต่หลังจากที่ยืนไปได้พักใหญ่ เธอก็ฉุกคิดขึ้นมาว่า เธอเดินทางครั้งนี้ก็เพื่อจะไปช่วยชาวบ้านมิใช่หรือ แล้วทำไมเธอถึงโมโหที่มีชาวบ้านมานั่งที่ของเธอ แค่นี้เธอก็เสียสละไม่ได้หรือ ถึงตรงนี้เธอก็หายโมโหชาวบ้านทันที ขณะเดียวกันก็เห็นตัวเองชัดว่ายังมีความเห็นแก่ตัวอยู่ ทั้งๆ ที่กำลังจะไปช่วยชาวบ้านแท้ๆ

ผู้ติดเชื้อHIV คนหนึ่งถูกชวนเข้าร่วมกิจกรรมถ่ายภาพ แต่แทนที่จะถ่ายภาพทั่วๆ ไป ผู้จัดให้เขาอ่านหนังสือธรรมะบทหนึ่ง จากนั้นก็ให้เขาเลือกประโยคใดประโยคหนึ่งออกมา แล้วลองคิดดูว่าจะถ่ายทอดข้อความนั้นด้วยภาพนิ่งและภาพวีดีโออย่างไร เขายอมรับว่าทีแรกนึกไม่ออก เพราะรู้สึกว่าธรรมะนั้นเป็นเรื่องยากและห่างไกลตนเหลือเกิน แต่หลังจากใคร่ครวญเพ่งพินิจ และมองรอบตัว ก็เริ่มมองเห็นว่าต้นไม้ ก้อนหิน สระน้ำ เป็นสื่อถ่ายทอดธรรมะประโยคนั้นได้อย่างไร เขาถ่ายภาพแล้วภาพเล่า จากนั้นผู้จัดก็พิมพ์และนำภาพเหล่านั้นไปติดบนผนัง รวมทั้งนำคลิปวีดีโอของเขาและเพื่อนๆ ออกฉายให้ดูกันด้วย หลายคนชมว่าเขาถ่ายภาพสวยและสื่อธรรมะได้ดี เขาไม่เคยรู้มาก่อนว่าตัวเองมีความสามารถอย่างนั้น ความภาคภูมิใจในตนเองทำให้เขาไม่รู้สึกต่ำต้อยในความเป็นผู้ติดเชื้ออีกต่อ ไป

ผู้ร่วมโครงการคนหนึ่งพูดว่า สิ่งที่เขาประทับใจโครงการนี้ก็คือ เป็นโครงการที่กระตุ้นให้เกิด "เอ๊ะ" มากกว่า "อ๊อ" กล่าวคือทำให้เกิดการฉุกคิดและตั้งคำถามกับความคิดหรือความเข้าใจเดิมๆ ไม่เหมือนกับการไปเข้าสัมมนาหรือฟังคำบรรยาย ที่ได้แต่ทำให้ผู้ฟังเกิดความรู้มากขึ้น แต่ไม่กระตุ้นให้เกิดการฉุกคิด

เนื่อง จากความสำเร็จในปีแรก โครงการสุขแท้ด้วยปัญญาจึงดำเนินการต่อเป็นปีที่สอง โดยจะให้ทุนสนับสนุนแก่กิจกรรมที่ผ่านการคัดเลือกไม่เกิน หนึ่งแสนหกหมื่นบาทต่อทุน ทั้งนี้ โดยมีเงื่อนไขว่ากิจกรรมที่ทำจะจัดเพียง 1 ครั้ง (ไม่น้อยกว่า 5 วัน 4 คืน ) หรือ ต่อเนื่องมากกว่า 1 ครั้งก็ได้ แต่จำนวนผู้เข้าร่วมต้องไม่น้อยกว่า 35 คน โดยเน้นผู้เข้าร่วมที่เป็นเยาวชนคนหนุ่มสาว เปิดรับโครงการระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม ถึง 14 สิงหาคม 2552

ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ www.budnet.org สอบถามรายละเอียดได้ที่ b_netmail@yahoo.com หรือโทร.0-2424-7409,08-0450-8890

วันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11425 มติชนรายวัน หน้า 6

วันพฤหัสบดีที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2552

วันศุกร์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2552

แบบทดสอบจริต

จริต คือ อะไร

แนวคิดเกี่ยวกับ จริต ซึ่งเป็นทฤษฏีบุคลิกภาพที่เก่าแก่ที่สุดในโลก มีการใช้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพมานานกว่า 2,500 ปี ปรากฏหลักฐานอยู่ในพระไตรปิฏก คัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา และเรื่องราวในพุทธประวัติหลายเหตุการณ์ ซึ่งเรื่องของจริตนั้นสังเคราะห์จากแนวทางที่พระพุทธองค์ทรงพิจารณาจำแนก บุคคล เพื่อเลือกกิจกรรมในการพัฒนาปัญญาให้เหมาะสมกับบุคคลนั้น ๆ ซึ่งทำให้การพัฒนาปัญญาดำเนินไปอย่างได้ผลรวดเร็ว มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูง

จีรังจริต 6 คือ ทฤษฎีบุคลิกภาพตามแนวพุทธปรัชญา ซึ่งพัฒนาประยุกต์ขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในวงกว้าง เพื่อสร้างเสริม โลกิยปัญญา (รู้แจ้งรู้จริงในความรู้ทางโลก) และโลกุตตรปัญญา (รู้แจ้งเห็นจริงในทางธรรม) โดยมีการพัฒนาโปรแกรมแบบสำรวจที่มีมาตรฐานและความเที่ยงตรงสูงเป็นเครื่องมือในการวัดบุคลิกภาพ

จริต คือ ลักษณะนิสัยพื้นฐานที่ประพฤติปฏิบัติ เป็นพฤติกรรมตามสภาพของจิตใจอันเป็นปกติของบุคคลนั้น โดยแบ่งออกเป็น 6 แบบ คือ

1. ราคจริต (คุณรักงาม) มีลักษณะเป็นคนสุนทรีย์ในอารมณ์ รักสวยรักงาม พูดจาอ่อนหวาน สะอาด ประณีต
2. โทสจริต (คุณเก่งเกณฑ์) มีลักษณะเป็นคนจริงจัง เจ้าระเบียบ ใจร้อน โมโหง่าย ชอบชี้นำ พูดดัง เดินเร็ว
3. โมหจริต (คุณฝันซึ้ง) มีลักษณะเป็นคนชอบคิดฝัน ชอบสะสม ยิ้มง่าย พูดไม่เก่ง ไม่ค่อยมั่นใจตนเอง เชื่อคนง่าย
4. วิตกจริต (คุณสลับใจ) มีลักษณะเป็นคนชอบคิดการณ์ไกล แต่เปลี่ยนใจบ่อย หน้าตาไม่ค่อยสดชื่น พูดเก่ง ละเอียดลออ
5. ศรัทธาจริต (คุณเลิศหลง) มีลักษณะเป็นคนนับถือตนเอง เสียสละ มีหลักการ มีศรัทธาแรงกล้าในสิ่งที่เชื่อถือ
6. พุทธิจริต (คุณปัญตา) มีลักษณะเป็นคนมีไหวพริบ จดจำเรียนรู้ได้ดี มีปัญญาดี ประนีประนอม สุภาพ มีเมตตาสูง

เป็น ธรรมชาติของบุคลิกภาพแต่ละคนที่จะมีจริตผสมอยู่ทุกแบบแต่สัดส่วนแตกต่างกัน ไป แต่มักจะมีจริตเด่นในสัดส่วนที่สูงอยู่ 1-2 แบบในคน ๆ เดียวกัน โดยทฤษฏีตามแนวพุทธปรัชญาเชื่อว่า เหตุที่คนเรามีจริตแตกต่างกันเกิดจาก “กรรมในอดีต” และสัดส่วนองค์ประกอบของ “ธาตุทั้ง 4” ภายในร่างกายของแต่ละคน

รู้จริตแล้วได้ประโยชน์อะไร

ความสำเร็จในชีวิตไม่ว่าจะด้านการศึกษา การงาน ครอบครัว หรือด้านอื่น ๆ มีปัจจัยแห่งความสำเร็จที่สำคัญที่สุด คือ ความสามารถในการทำหน้าที่และมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่นได้อย่างเหมาะสม ซึ่งจะเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพได้นั้น จะต้องเข้าใจธรรมชาติของตนเองและผู้อื่นเป็นอย่างดี ว่ามีลักษณะนิสัยพื้นฐานเป็นอย่างไร รู้ข้อดีและข้อจำกัดของกันและกัน เพื่ออยู่ร่วมกันอย่างสร้างสรรค์ในบทบาทของแต่ละคน ซึ่งล้วนเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันในองค์กรและสังคมประเทศ่ชาติ ซึ่งองค์ความรู้ด้านจริตนั้น จะช่วยให้เข้าใจธรรมชาติของตนเองและผู้อื่นได้อย่างลึกซึ้ง เพราะเป็นบุคลิกภาพพื้นฐานตามที่เป็นจริงในปัจจุบัน

ประโยชน์ที่สำคัญที่สุดของการรู้จริตนั้น คือ ประโยชน์ด้านการพัฒนาตนเอง ทั้งในด้านการพัฒนาศักยภาพเพื่อการประกอบอาชีพ และการพัฒนาด้านจิต (อารมณ์) และจิตวิญญาณ(ปัญญา) ซึ่งต้องอาศัยการฝึกปฏิบัติธรรมที่เหมาะสมกับจริต ถึงจะได้ผลดี การ รู้จริตของตน ทำให้เกิดการรับรู้ว่าจะต้องพัฒนาตนเองอย่างไร มีสิ่งใดที่เหมาะสมอยู่แล้ว มีสิ่งใดที่ต้องปรับปรุง เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของตนเอง และการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสร้างสรรค์และมีความสุข

ทำอย่างไรถึงจะรู้ว่า “ตนเอง” จริตอะไร

การวิเคราะห์จริตของบุคคลนั้นทำได้ค่อนข้างยาก วิธีแรกเป็นวิธีดั้งเดิมต้องอาศัยผู้มีญาณหยั่งรู้เป็นผู้พิจารณา วิธีที่สองต้องใช้ชีวิตใกล้ชิดกับผู้มีความรู้ความชำนาญเรื่องจริตระยะเวลา หนึ่งแล้วให้ช่วยพิจารณาให้ โดยจะพิจารณาจากการทำงาน การเดิน การนอน การนุ่งห่ม การรับประทานอาหาร และปฏิกิริยาต่อสิ่งต่าง ๆ รอบกาย วิธีที่สามต้องศึกษาและวิเคราะห์ด้วยตนเอง ซึ่งทั้งสามวิธีนั้นเป็นวิธีที่ปฏิบัติได้ยากเนื่องจากข้อจำกัดด้านต่าง ๆ ด้วยเหตุนี้ สำนักฝึกอบรม จีรัง เฮลธ์ วิลเลจ จึงได้ทำการศึกษาวิจัยและพัฒนา แบบสำรวจบุคลิกภาพพื้นฐาน จีรังจริต 6 เพื่อใช้ประโยชน์ต่องานพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยใช้วิเคราะห์บุคลิกภาพบุคคลเพื่อออกแบบกิจกรรมเพื่อการพัฒนาให้มีความ เหมาะสม ซึ่งจะทำให้มีประสิทธิภาพสูง เป็นประโยชน์ในการพัฒนาสร้างเสริมความรู้ด้านต่าง ๆ และเป็นประโยชน์ในการพัฒนาปัญญา สามารถเลือกแนวทางการปฏิบัติธรรมได้อย่างเหมาะสมกับจริตของตน

แบบสำรวจบุคลิกภาพพื้นฐาน จีรังจริต 6 นี้ ช่วยให้ทุกท่านสามารถทราบได้ว่าตนเองจริตอะไร โดยใช้เวลาในการทำแบบสอบถามเพียง 20 นาที โดยแบบสอบถามมี 2 ส่วน

ส่วนที่ 1 : ข้อคำถามจำนวน 90 ข้อ ให้อ่านอย่างช้า ๆ แล้วตอบคำถามทันทีทีละข้อตามลำดับ โดยเลือกตอบตามความเห็นของตนที่แท้จริงเพียงคำตอบเดียว

ส่วนที่ 2 : ให้อ่านลักษณะบุคลิกภาพพื้นฐาน 6 แบบ แล้วพิจารณาเปรียบเทียบกับตนเอง แล้วจัดอันดับใส่ตัวเลขเรียงลำดับจากน้อยไปมาก 1-6 แบบใดเหมือนกับตนเองน้อยที่สุดให้ใส่ 1 เรียงลำดับไปจนถึงแบบใดเหมือนกับตนเองมากที่สุดให้ใส่ 6 (ตัวเลขต้องไม่ซ้ำกัน).


สำหรับแบบทดสอบจริต โปรดคลิก หรือ copy url ไปใส่ช่อง address

http://www.thinkdesign2u.com/jarit6/

วันจันทร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2552

กิจกรรมกลุ่มวิชา 128410 เทอมที่ 2 ปีการศึกษา 2552

กิจกรรมกลุ่มวิชา 128410 เทอมที่ 2 ปีการศึกษา 2552
1.ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มละ 5 คน
กลุ่มมี 2 ประเภท
1.กลุ่มบังคับ แบ่งจำนวน 5 คน ตามรหัสประจำตัว
2.กลุ่มสมัครใจ สำหรับทำรายงาน
กลุ่มบังคับนี้จะมอบหมายให้อ่านบทความ จำนวน 2 ครั้ง และมานำเสนอท้ายชั่วโมงทุกครั้ง จนกว่าจะครบ บทความนี้อาจารย์ผู้สอนจะนำมามอบให้ 1 สัปดาห์ก่อนำนำเสนอ
2.งานเดี่ยว ให้นักศึกษาอ่านหนังสือนอกเวลาคนละ 1 เล่ม ให้เลือกหนังสือที่ตนเองสนใจมากที่สุด แล้วให้เขียนว่าได้อะไรบ้างจากการอ่านหนังสือเล่มนี้ หนังสือดังกล่าวอาจจะเป็นหนังสือกึ่งวิชาการ สารคดี ชีวประวัติ ธรรมะ นวนิยาย แล้วผู้สอนจะให้นักศึกษาบางคนมานำเสนอหน้าชั้นเรียน
* ให้ส่งหลังสอบกลางภาค และผู้สอนจะคัดเลือกงานที่ดีที่สุด ให้นักศึกษามานำเสนอให้เพื่อนในชั้นได้ฟัง
3.ให้อ่านบทความใน Blog ถ้าถามเมื่อไหร่ต้องตอบได้

แม่ติ๋ว การพัฒนาจิต และสังคมเยียวยา




แม่ติ๋ว การพัฒนาจิต และสังคมเยียวยา
คอลัมน์ จิตวิวัฒน์

โดย ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ www.thaissf.org, http://twitter.com/jitwiwat แผนงานพัฒนาจิตเพื่อสุขภาพ มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์ สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
วันที่ 06 มิถุนายน พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11410 มติชนรายวัน

คลิกที่นี่เพื่อดาวน์โหลด

วันพุธที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ปริญญา 2 ใบ ในชีวิต

ปริญญาสองใบ...น่าอ่าน

ที่เมืองไทยปีที่แล้วมีข่าวเกรียวกราวมาก
คือมีดาราคนหนึ่งซึ่งมีชื่อดังมาก
เป็นคนดำเนินรายการคนค้นคน
ดร.อภิวัฒน์ วัฒนางกูร
มาเรียนที่อเมริกา
เป็นคนเพอร์เฟคชั่นนิส
ทำงานทุกอย่างต้องดูดีที่สุดแม้กระทั้งล้างจาน
ล้างเสร็จแล้วแกต้องเอามาดมดู
ว่าสะอาดจริงมั้ย
กลับไปเมืองไทยก็ไปเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย
มีแฟนก็จีบดาวมหาวิทยาลัยเลย
ต้องให้ดีที่สุด
เวลาแกไปเสนองานอะไรต่าง ๆ เขียนไว้สามแผน
แผนที่หนึ่งลูกค้าไม่ซื้อ
แกเสนอแผนที่สอง
แผนที่สองลูกค้าไม่ซื้อแกเสนอแผนที่สาม
ใครไปดีลงานกับแกติดทุกราย แกมีบ้าน
มีรถ มีลูก มีภรรยา มีธุรกิจ
มีชื่อเสียงทุกอย่าง แกมีทุกอย่าง
วันหนึ่งแกพักผ่อน
หลังจากที่ทำงานแบบไม่ได้พักเลย ลุกเมียไปขอพบ
บอกไปเจอพ่อที่ออฟฟิต
วันหนึ่งแกไปพักที่ปากช่อง ตื่นขึ้นมากลางวันล้มฟุ๊บลงไป
ภรรยาพาเข้าโรงบาล ตรวจพบมะเร็ง
พอพบปุ๊บเป็นระยะสุดท้ายเลย จริง ๆ
เค้าก็เตือนตลอด
แต่พอไม่มีเวลาไปตรวจมันก็แก้ไม่ได้
แกไปนอนป่วยอยู่ที่โรงพยาบาล
แล้วก็สารภาพให้รายการคนค้นคน บันทึกชีวิตแก
ก่อนจะเสียชีวิต แกก็ไปนอนให้พ่อแม่เช็ดเนื้อเช็ดตัว
แกก็บอกว่าสังเวชตัวเองมากแทนที่ลูกจะได้ดูแลพ่อแม่
กลับมาเป็นว่าพ่อแม่ต้องมาดูแลลูก
ก่อนจะเสียชีวิตแกให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์คมชัดลึกบอกว่า
พ่อผมเคยบอกว่าเกิดเป็นคนต้องได้ปริญญาสองใบ
ปริญญาใบที่หนึ่ง ' ปริญญาวิชาชีพ ' เราจะต้องทำมาหากินเป็น กินอิ่ม นอนอุ่น
พูดง่าย ๆ
ล้วงไปในกระเป๋าแล้วมีเงินใช้ อยากจะนอนมีบ้านเป็นของตัวเอง
แค่นี้คือปริญญาวิชาชีพ แต่ ' ปริญญาวิชาชีวิต '
ปริญญาใบที่สอง ' ปริญญาวิชาชีวิต ' คือวิชาธรรมะ
สำหรับจะดูแลชีวิตให้ดำเนินอยู่ในทางสายกลาง

ซึ่งเป็นปริญญาใบที่สองที่พ่อแกบอกไว้
แกบอกว่าผมสอบตกโดยสิ้นเชิง
ผมเป็นดอกเตอร์จากอเมริกาได้ปริญญาวิชาชีพ
แต่ปริญญาวิชาชีวิตสอบตก เพราะอะไร
เพราะทำงานจนป่วยตาย
ก่อนที่จะเสียชีวิตแกได้สารภาพว่าผมได้เตรียมทุกอย่าง
บ้าน รถ มอบมันให้กับลูกและภรรยา
แต่ในวันที่ผมมีทุกสิ่งทุกอย่าง
ผมกลับลืมมอบหนึ่งอย่างให้กับลูกและภรรยา
สิ่งนั้นคือสิ่งที่ผมลืมและทำให้ผมล้มเจ็บใหญ่ครั้งนี้
สิ่งที่ว่านี้คือผมลืมมอบตัวเองเป็นของขวัญให้กับลูกและเมีย
เพราะทำงานหนักจนกระทั่งป่วยตาย
นี่คือปริญญาวิชาชีวิต
ธรรมะเราจะต้องมี ถ้าเราไม่มีธรรมะ
เราจะกลายเป็นหุ่นยนต์เท่านั้นเอง
ที่ทำงานแทบล้มประดาตายแล้วสุขภาพไม่ดี
ดังนั้นเมื่อเราทุกคนทำงานแล้ว
อย่าลืมชั่วโมงสุขภาพของตัวเองในแต่ละวันนะ
แต่ละวันควรจะมี ให้ดูแลตัวเอง
ดูจิต ดูใจตัวเอง ว่าเราเอ๊ะมันทุกข์
มันทุกข์มากเกินไปรึเปล่า
แบกเรื่องโน้นเรื่องนี้ เกินไปหรือเปล่า
พยายามลดลงในแต่ละวัน ๆ
เพื่อที่ว่าอะไร
เพื่อที่ว่าเราจะได้ปริญญาสองใบในชีวิต
หนึ่งปริญญาวิชาชีพ
เราทำมาหากินจนประสบความสำเร็จร่ำรวยมั่งคั่ง
มีเงินมีทองใช้มีบ้านอยู่
แต่ต้องไม่ลืมปริญญาใบที่สอง
คือวิชาธรรมะ
สำหรับจะดูแลชีวิตให้ดำเนินอยู่ในทางสายกลาง
ไม่ทุกข์เกินไปไม่เดือนร้อนเกินไป
ทำอะไรให้พอดี พอดีอยู่ดีมีสุข
อยากเที่ยวให้ได้เที่ยว อยากพักให้ได้พัก
อยากทำบุญให้ได้ทำบุญ
ลูกหลานมาหาก็ให้ได้มีเวลากับลูกกับหลานบ้าง
อย่าวิ่งไปจนซ้ายสุด ขวาสุด
และมารู้สึกตัวอีกทำจนล้มเจ็บใหญ่ไม่ดี เพราะอะไร
เพราะว่าสิ่งสูงค่าทีสุดในชีวิตของเรา
เคยมีคนไปทูลถามพระพุทธเจ้า
ว่าอะไรคือสิ่งสูงค่าที่สุด บางคนก็ตอบเงิน
บางคนก็ตอบเพชร บางคนก็ตอบทอง
บางคนก็ตอบอำนาจ บางคนก็ตอบราชบัลลังก์
พระพุทธเจ้าบอกไม่ใช่ สิ่งสูงค่าที่สุดในชีวิตของพวกเธอคือสุขภาพและชีวิต
สุขภาพก็คือการที่เราไม่เจ็บไข้ได้ป่วย
คนที่สุขภาพดีดื่มน้ำธรรมดาก็อร่อยนะ
และก็ชีวิตของเรา

วันอังคารที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2552

หน้าที่ของคน

หน้าที่ของคน

เรียบเรียงโดย เขมกะ

คลิกที่นี่เพื่อดาวน์โหลด

วันจันทร์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2552

เสน่ห์ผ้าขี้ริ้ว

เสียงอ่านหนังสือเรืองเสน่ห์ผ้าขี้ริ้ว โดย ปิยโสภณ

File ที่ 1

คลิกที่นี่เพื่อดาวน์โหลด

File ที่ 2

คลิกที่นี่เพื่อดาวน์โหลด

Course Outline วิชา 120401 จริยธรรมของนักบริหาร

คำอธิบายลักษณะกระบวนวิชา
แนวคิด ความหมายและความสำคัญของจริยธรรม บทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบของนักบริหาร จริยธรรมสำหรับนักบริหาร ปัญหาเกี่ยวกับจริยธรรมสำหรับนักบริหาร ปัญหาเกี่ยวกับจริยธรรม สำหรับนักบริหาร การพัฒนาจริยธรรมสำหรับนักบริหาร

วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ผู้ศึกษามีความรู้ในเนื้อหาเกี่ยวกับจริยธรรมของนักบริหาร
2.เพื่อให้ผู้ศึกษานำความรู้มาประยุกต์ใช้กับการดำเนินชีวิตและปฏิบัติงานได้
3.เพื่อให้ผู้ศึกษาสามารถเสนอแนวทางในการพัฒนาจริยธรรมสำหรับนักบริหาร

สำหรับเอกสารฉบับเต็มดาวน์โหลดได้ที่


คลิกที่นี่เพื่อดาวน์โหลด